สมาชิก
ติดตาม เลิกติดตาม
แลกเปลี่ยน

ปริศนาคำทาย

การละเล่น

ปริศนาคำทาย


ปริศนา ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง
สิ่งหรือถ้อยคำที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงำเพื่อให้แก้ให้ทาย
คนไทยเป็นคนช่างคิด สามารถใช้ปัญหาแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าหรือในยามคับขันได้เป็นอย่างดี แต่ในยามปกติก็มักจะผูกเป็นปัญหาขึ้นเพื่อถาม หรือทายกันเล่นเพื่อเป็นการฝึกภูมิปัญญา เป็นการสร้างความสามัคคีและมีมนุษยสัมพันธ์อันดีในหมู่คณะ ปริศนามีหลายอย่าง
เช่น ปริศนาธรรม ปริศนาลายแทง ปริศนาอักษรไขว้ ปริศนาคำทาย เป็นต้น
ปริศนาที่เป็นที่รู้จักดี และนิยมเล่นกันทั่วไป คือ ปริศนาคำทาย เป็นปริศนาที่ทายได้ทุกเพศทุกวัย แต่ถ้าเป็นปริศนาที่เล่นกันเฉพาะในหมู่ที่มีความรู้สูงขึ้นมาอีก มักจะเล่นกันเฉพาะในกลุ่มเท่านั้นซึ่งปริศนาชนิดนี้เรานำแบอย่างมาจากจีน เรียกกันว่า ผะหมี
และในภาคอีสานก็มี ผญา ซึ่งผญาบางประเภทจะมีลักษณะเป็น ปริศนา เช่นกัน
การผูกปริศนานิยมใช้คำคล้องจองกันเป็นข้อความสั้นๆ กะทัดรัดหรืออาจผูกเป็น
ปริศนากลอน เช่นกลอนสุภาพ กลอนสักวา หรือโคลงสี่สุภาพ เป็นต้น ส่วนเนื้อหานั้นมักจะ
นำมาจากสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ของใช้ สัตว์ หรือ พืช ซึ่งผู้ผูกปริศนาจะต้องเป็นคน
ช่างสังเกต แล้วนำเอาสิ่งที่สังเกตเห็นมาผูกปริศนาให้ผู้อื่นใช้ปัญญาเพื่อแก้หรือทาย เช่น



ปริศนาคำทายเป็นการละเล่นพื้นบ้านอย่างหนึ่งของไทย ซึ่งนิยมเล่นกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ และยังคงสืบเนื่องกันมาจนถึงทุกวันนี้ นับว่าเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของไทย
การทายปริศนานั้นทายได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ อาจจะทายกันในครอบครัวหรือญาติมิตรก็ได้
การทายปริศนานอกจากจะให้ความสนุกสนานแล้ว ยังให้ความคิด ความฉลาดในการฝึกปัญญาของผู้เล่นเป็นอย่างมาก และยังเป็นการสร้างความสามัคคีสร้างมนุษยสัมพันธ์ในหมู่ผู้เล่นอีกด้วย
การทายปัญหา ผู้ตั้งปัญหาจะต้องใช้คำคล้องจองให้สัมผัสกันโดยไม่กำหนดจำนวนคำในแต่ละวรรค เช่น
อะไรเอ่ย ยิ่งตัดยิ่งยาว (ถนน)
อะไรเอ่ยเป็นพวงอยู่ระหว่างขา (ปิ่นโต)
อะไรเอ่ย ตัวอยู่นา ตาอยู่บ้าน (ตาปู)
อะไรเอ่ย เมื่อเด็กนุ่งขาว สาวนุ่งเขียว แก่นุ่งแดง (พริก)
การทายปัญหานั้นไม่ใช่เล่นกันในหมู่บ้านหรือครอบครัวเท่านั้น แม้ในสมัยรัชกาลที่ 5 ก็นิยมทายกัน แต่มักจะแต่งเป็นโคลงหรือกลอนให้มีความไพเราะไปในทางภาษาหนังสือ เป็นการทายในหมู่ชนชั้นที่ได้รับการศึกษา ซึ่งต่างจากการทายปริศนาตามหมู่บ้านหรือตามประสาชาวบ้าน เช่น
วัดหนึ่งนามเรียกคล้าย เวลา
ราตรีต่อทิวา นั่นไซร้
มีนามซึ่งชนสา- มัญเรียก
แปลว่าวัดซึ่งไร้ ร่มไม้ชายคา
(เฉลย – วัดแจ้ง หรือ วัดอรุณ)
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมกุฎราชกุมาร พระองค์ได้ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นในบางโอกาส สำหรับให้ข้าราชบริพารส่วนพระองค์คิดทายกันเล่น หรือภายในแวดวงข้าราชสำนักสมัยนั้น เช่นในงานฤดูหนาวประจำปีที่วัดเบญจมบพิตรในสมัยนั้น จัดว่าเป็นงานที่สนุกสนานที่สุด
เป็นงานที่เจ้านายเชื้อพระวงศ์มาออกร้านกันมาก การเล่นทายปัญหาหรือปริศนานับว่าเป็นจุดสำคัญที่สุดของงาน รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชนิพนธ์ปัญหาร่วมด้วย จึงมีข้าราชบริพารสนใจตอบหรือทายกันมาก และมีรางวัลสมนาคุณให้แก่ผู้ที่ตอบหรือทายถูกอีกด้วย การเล่นทายปัญหาในวัดเบญจมบพิตรนี้ในขั้นแรกเรียกว่าเป็นการทาย“ผะหมี” ซึ่งเป็นการเล่นอย่างแพร่หลายในหมู่
นักปราชญ์ราชบัณฑิตและกวีในประเทศ

ตัวอย่างปริศนาคำทายภาคต่างๆ

    ภาคเหนือ

  • อุปกรณ์และวิธีการเล่น

การเล่นปริศนาคำทายจัดเป็นการละเล่นแบบกีฬาในร่ม นิยมเล่นในห้องหรือกลางแจ้งก็ได้ วิธีการเล่นแบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ฝ่ายแรกเป็นฝ่ายตั้งปัญหา และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายตอบปัญหา ตัวอย่างคำถามปริศนาคำทาย ดังนี้
๑. ถาม อะไรเอ่ย…..จับหางขี้พุ่งปร๊าด
ตอบ ไถนา
๒. ถาม อะไรเอ่ย…..นั่งสูงกว่ายืน
ตอบ สุนัข
๓. ถาม อะไรเอ่ย…..ไม่มีต้น คนชอบคลำ
ตอบ ใบหู
๔. ถาม อะไรเอ่ย…..บนก็ฝา ล่างก็ฝา นั่งชิงช้าลอดกลาง
ตอบ ลิ้น
๕. ถาม อะไรเอ่ย…..ไว้ขาวอยู่ในวัง บ่สั่ง บ่ออก
ตอบ ขี้มูก
๖. ถาม อะไรเอ่ย…..ตัดโคนบ่ตาย ตัดปลายบ่เน่า
ตอบ ตัดผม
๗. ถาม อะไรเอ่ย…..บ่ถึงฤดูบ่เข้า บ่ถึงคราวบ่ออก
ตอบ พระเข้าพรรษา-พระออกพรรษา
๘. ถาม อะไรเอ่ย…..จับหางร้องโอ๊ด
ตอบ คนขุดหน่อไม้

  • โอกาสหรือเวลาที่เล่น

ปริศนาคำทายเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของคติชนวิทยา ที่ว่าด้วยการทายปัญหา และการแสวงหาคำตอบเป็นการละเล่นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเมื่อว่างเว้นจากงาน เป็นการละเล่นทั้งของเด็กและของผู้ใหญ่ที่นิยมเล่นทายกัน

  • คุณค่า/แนวคิด/สาระ

ปริศนาคำทายเป็นการละเล่นฝึกเชาวน์ ฝึกสมอง เป็นสิ่งจูงใจอยากให้คน คิดได้ แก้ปัญหาได้ และจุดมุ่งหมายสำคัญ เป็นการละเล่นเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจในยามที่ว่างเว้นจากงานประจำ ส่วนใหญ่เป็นการเล่นของเด็กและเด็กวัยรุ่น

 ภาคอีสาน

ความทวย "ขนแย่มแยะแปะกันมีแฮง"
ความตอบ "ขนตาเวลาหลับนอน" ก็เท่านั้น ไม่ได้คิดไปไกลเหมือนคนสมัยนี้
ความทวย "ผู้หญิงเห็นผู้หญิงกลาย ผู้ชายเห็นผู้ชายเด้าเข้าบ่เข้าคลำเบิ่งเอา"
ความตอบ "ผู้ชายฝนพร้า (ลับมีด)" ซึ่งการลับมีด ร่างกายทั้งท่อนบนและท่อนล่าง จะเคลื่อนไหวไปตามจังหวะที่ผลักมีด ผู้ผูกปัญหาก็จะผูกไปตามกิริยาอาการนี้ก็ไม่เห็นจะต้องมีหยาบหรือลามกตรงไหน
ความทวย "ทางเทิงกะดำ ทางหลุ่มกะดำ มักตำกันเวลากลางคืน"
ความตอบ "ขนตาเวลาหลับนอน" ลามกตรงไหน? คิดดู
ความทวย "นกโก่นโต่น สี้ก้นแม่เจ้าของ"
ความตอบ "ลูกกุญแจ" ดูซิหยาบตรงไหน
ความทวย "นาหนองน้อย บ่มีจอกบ่มีแหน มีปลาซิวหัวแปโตหนึ่งอยู่หั่น"
ความตอบ "ปากกับลิ้น" ดูซิลามกตรงไหน
ความทวย "นอนหงายให้เขาขี่ เอามือตี่ยัดใส่"
ความตอบ "เกิบ" มันก็คนใส่รองเท้า หยาบตรงไหน สงสัยคนคิดแบบนั้นหยาบเอง
ความทวย "ยาวค่าคืบ ยัดเข้าหลืบฮูหนังทั่งไปทั่งมา น้ำแบ้นไหลออก" (ความทวยคิดขึ้นใหม่)
ความตอบ "คนแปรงฟัน" ดูซิลามกตรงไหน
ความทวย "เสียกแพ่แว่ แหย่เข้าฮูหนัง"
ความตอบ "หลอดยาดม" ดูซิลามกตรงไหน?
ความทวย "เสียกข่านหล่านจำกั่นจำบัก ยกขาขึ้นผู้อยู่หลุ่มมีแฮง"
ความตอบ "คนกั้งคันยู (ร่ม)" ดูซิลามกตรงไหน
ความทวย "อูดหลูด ปูดหลูดออก ปูดหลูดเข้าเอาหัวตำ ผู้หยิงชอบกำ ยามมื้อเช้ามื้อแลง"
ความตอบ "สากกะเบือ" ดูซิลามกตรงไหน
ความทวย "ฮูเนิน แม่นฮูคัน ฮูซันแม่นฮูลูก"
ความตอบ "ฮูคราด" ลามกตรงไหน
จากความทวยและคำตอบนี้ เราจะเห็นได้ว่าปราชญ์โบราณอีสานท่านผูกคำทวยขึ้นมา จากสิ่งแวดล้อมรอบข้าง แม้คำทวยจะระคายความรู้สึกของคนคิดมากในยุคปัจจุบัน แต่สมัยก่อนโน้นท่านคงไม่ได้คิดจะให้ลามก เพราะดูจากคำตอบแล้วไม่เห็นมีอะไรลามกเลย นี่แหละวัฒนธรรมของคนอีสานขนานแท้

ภาคกลาง

ภาคกลาง : อะไรเอ่ย ยามเช้าเดินสี่ขา ยามกลางวันเดินสองขา ยามเย็นเดินสามขา (วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยชรา)

อะไรเอ่ย ออกลูกไปแล้วไม่กลับ (ลูกปืน)

บางครั้งมีการเล่นทายปัญหา ซึ่งเรียกว่าปริศนาคำทาย ถ้อยคำและปัญหา ที่ทายส่วนใหญ่ฉายภาพชีวิตของคนไทย และสภาพธรรมชาติแวดล้อม ตัวอย่างเช่น

คำทาย : อะไรเอ่ย เรือนปั้นหยา ทาสีเขียว เด็กดำนอนกางมุ้งขาว

คำตอบ : น้อยหน่า

คำทาย : อะไรเอ่ย ขาไปสองคน มืดฟ้ามัวฝน เดินมาคนเดียว

คำตอบ :เงา

คำทาย : อะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปรกดิน

คำตอบ :ตะไคร้

คำทาย : อะไรเอ่ย เปิดฉับ ใส่ฉุบ ปิดปุบ เดินปับ

คำตอบ :พระบิณฑบาต
 

ภาคใต้


     ทางภาคใต้ขึ้นต้นคำทายปริศนาว่า"ไอ้ไหรเอ่ย" หรือ "ไอ้ไหรหา" หรืออะไรหาตามลักษณะของท้องถิ่นต่าง ๆ  ซึ่งหมายความว่า"อะไรเอ่ย" นั่นเอง  ตัวอย่างปริศนาคำทายทางภาคใต้

1.  ไอ้ไหรหา  สิบขาตาติดตัว ไม่มีหัวไม่มีหาง
      ตอบ   ปู
2.   ไอ้ไหรหา  นกกดตาแดง  น้ำแห้งตาย
       ตอบ   ตะเกียง
3.   ไอ้ไหรหา  โลกมันวี แม่มันพีหลุ้นตุ้น  (โลก = ลูก)   (วี= แกว่ง) (พี = อ้วน)
       ตอบ  ไนปั่นฝ้าย
4.   ไอ้ไหรหา  ตึกทำกับดาษ  ใจอาฆาต ตายเพราะคนยอน (ดาษ = กระดาษ) (ยอน = แหย่)
       ตอบ   มดแดง
5.   ไอ้ไหรหา หนังหุ้มขน  ขนหุ้มโดก โดกหุ้มเนื้อ  เนื้อหุ้มน้ำ  น้ำรูแก้ว (โดก = กระดูก)
       ตอบ   มะพร้าว
6.  ไอไหรหา  ต้นเท่าครก  โลกดกเหมินแสน  (โลก =ลูก)  (เหมิน = หมื่น)
      ตอบ   ต้นลาน
7.   ไอ้ไหรหา  เมื่อแกรองนอน เมื่อออนต้มจุ้ม  (แก = แก่) (ออน = อ่อน) (ต้มจุ้ม =ผักสดลวกน้ำร้อนสำหรับจิ้มน้ำพริก)
      ตอบ  ไม้ไผ่
8.   ไอ้ไหรหา  สี่ตีนกินน้ำบอสูง  (บอ =บ่อน้ำ)
      ตอบ  กระรอก
9.   ไอ้ไหรหา  ต้นเท่าสายปิ้ง แตกกิ่งราหร้า  (ปิ้ง = จับปิ้ง)  (ราหร้า =ไม่เป็นระเบียบ)
       ตอบ  สาหร่าย
10. ไอ้ไหรหา ไอ้นิลกินหญ้าปากถ้ำ
       ตอบ   มีดโกนหนวด
11.  ไอ้ไหรหา  ไอ้นิลกินหญ้ารอบปลวก
       ตอบ  กรรไกรตัดผม
12.  ไอ้ไหรหา แรกเกิดพี่นุ้ยน้องใหญ่  พอนานๆ ไปพี่ใหญ่น้องนุ้ย (นุ้ย = เล็ก)
       ตอบ  มะม่วงหิมพานต์

 

·คำสำคัญ (keywords):พื้นบ้าน
·เลขที่บันทึก: 277522
· อ่าน:แสดง· ดอกไม้: 0· ความเห็น:11· สร้าง:2009-07-17 21:05:41 +0700
·สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกัน
แจ้งลบ
แจ้งลบ
เข้าระบบให้ดอกไม้เลิกชอบ  เป็นคนแรกที่ให้กำลังใจสมาชิกที่ให้กำลังใจ{{ kv.actionable.vote_counter }}
{{ user.preferred_name }}
แดง
2009-07-17 21:16:11 +0700
แจ้งลบ
ลบ

การเล่นทายกัน...หรือทวยกัน ภาษาบ้านเรา...เป็นเรื่องที่

สนุกสนานและไม่เคยเบื่อเลย...

สวยจังเลย...เอามาเป็นกำลังใจ...ห่างไกลเบาหวานค้า....

ท.ณเมืองกาฬ
2009-07-17 21:37:28 +0700
แจ้งลบ
ลบ
  • ขอบคุณครับพี่แดง
  • ที่แวะมาเยี่ยม มาสนุกกับควมทวยอีสานเรา และภาคอื่นๆ
  • มีความสุขมากๆนะพี่
Light
2009-07-26 13:13:14 +0700
แจ้งลบ
ลบ

สวัสดีค่ะ

รู้สึกยินดีมากเลยค่ะที่ได้สมัครมาเป็นสมาชิกที่ gotoknow

เพราะทำให้รู้จักแม่พิมพ์ของชาติหลายๆ ท่าน

และที่ประทับใจที่สุดคือได้รู้จักกับครูสอนภาษาไทย

เรื่องของปริศนาคำทาย

ตอนนี้ให้นักศึกษาแต่งกลอน ๔ เป็นปริศนาคำทายเหมือนกันค่ะ

เป็นที่สนุกสนานครื้นเครงเพิ่มบรรยากาศการเรียนมากเลยค่ะ

ท.ณเมืองกาฬ
2009-07-26 19:31:25 +0700
แจ้งลบ
ลบ

สวัสดีครับคุณ ครูต่างถิ่น

  • ขอบคุณมากๆนะครับที่แวะมาเยี่ยม  มาทักทาย
  • มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มรดกทางภาษาไทยด้วยกัน
  • ขอให้โชคดีมีสุขนะครับ
udomran
2009-07-28 10:49:06 +0700
แจ้งลบ
ลบ

แวะมาทักทาย...ครับท่าน ท.ณเมืองกาฬ

มาเป็นกำลังใจให้กับคนทำงาน.สร้างสรรค์สิ่งดี

ขอให้มีความสุขกับการทำงานในหน้าที่นะครับ..

ท.ณเมืองกาฬ
2009-07-28 19:57:24 +0700
แจ้งลบ
ลบ
  • ขอบคุณ ท่านudomran
  • ที่ให้เกียรติ แวะมาเยี่ยม มาทักทาย  มาเป็นกำลังใจ
  • ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ
Rattanaporn Chaichon
2009-08-01 20:15:54 +0700
แจ้งลบ
ลบ
  • สวัสดีคะ คุณครู
  • แวะมาทักทาย พร้อมชื่นชม
  • อ่านบทความแล้วชอบมากคะ
  • เดี๋ยวว่างๆ ขอแวะมาอ่านนะเจ้าค่า
  • อิอิ มาให้ทายเล่นๆๆ มะ...อะไรเอ่ย? มีชื่อร้อนแรง
  • ขอบคุณนะเจ้าค่า สำหรับความรู้ดีๆๆ  
ท.ณเมืองกาฬ
2009-08-01 23:02:52 +0700
แจ้งลบ
ลบ
  • ขอบคุณครับคุณRattanaporn Chaichon
  • ที่แวะมาเยี่ยม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้วยกัน
  • ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้รู้จักกับคุณ
  • ...อะไรเอ่ย? มีชื่อร้อนแรง....ยอมแล้วครับตอบไม่ได้
  • โชคดีนะครับ
tomkunggza
2009-11-25 18:02:00 +0700
แจ้งลบ
ลบ

ขอบคุณมากครับ กำลังหาอยู่พอดีเลย

ท.ณเมืองกาฬ
2009-11-27 18:35:01 +0700
แจ้งลบ
ลบ
  • ขอบตุณครับคุณomkunggza
  • ที่แวะมาเยี่ยม
5
2013-01-16 12:36:15 +0700
แจ้งลบ
ลบ

03852

{{ kv.current_user.preferred_name }} -เพิ่มความเห็น