กระทรวงมหาดไทย (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงมหาดไทย
ราชอาณาจักรไทย
TH Ministry of Interior Seal.jpg
ตราพระราชสีห์
ที่ทำการ
ธงชาติของไทย
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
ถนนอัษฎางค์ กรุงเทพมหานคร 10200
พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749
ภาพรวม
วันก่อตั้ง 1 เมษายน พ.ศ. 2435
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 230,781,268,600 บาท (พ.ศ. 2554)[1]
รัฐมนตรีว่าการ ยงยุทธ วิชัยดิษฐ์, รัฐมนตรี
ชูชาติ หาญสวัสดิ์, รัฐมนตรีช่วย
ฐานิสร์ เทียนทอง, รัฐมนตรีช่วย
ผู้บริหาร พระนาย สุวรรณรัฐ, ปลัดกระทรวงมหาดไทย
ขวัญชัย วงศ์นิติกร, รองปลัด
วัลลภ พริ้งพงษ์, รองปลัด
ประชา เตรัตน์, รองปลัด
อนุวัฒน์ เมธีวิบูลวุฒิ, รองปลัด
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
www.moi.go.th

กระทรวงมหาดไทย มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบำบัดทุกข์บำรุงสุข การรักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน การอำนวยความเป็นธรรมของสังคม การส่งเสริมและพัฒนาการเมืองการปกครอง การพัฒนาการบริหารราชการส่วนภูมิภาค การปกครองท้องที่ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นและพัฒนาชุมชน การทะเบียนราษฎร ความมั่นคงภายใน กิจการสาธารณภัย และการพัฒนาเมือง และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยหรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย

สื่อมวลชนไทย มักจะเรียกขาน กระทรวงมหาดไทย ว่า กระทรวงคลองหลอด[2]

เนื้อหา

[แก้] ประวัติกระทรวง

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มีพระบรมราชโองการตั้งกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2435 และได้ทรงมอบหมายให้สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย[3] งานของกระทรวงมหาดไทยในระยะเริ่มต้น จัดแบ่งเป็น 3 กรม คือ กรมมหาดไทยกลาง มีหน้าที่ทั่วไป กรมมหาดไทยฝ่ายเหนือ มีหน้าที่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และงานด้านอัยการ กรมพลัมภัง มีหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่

ในปี พ.ศ. 2435 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดระบบการบริหารราชการในส่วนภูมิภาคขึ้นใหม่ เรียกว่า เทศาภิบาล โดยแบ่งการปกครองเป็นมณฑล เมือง และอำเภอ ต่อมาได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการบริหารแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2476 แบ่งโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดินเป็นส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยจึงมีโครงสร้างตามพระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2476 โดยมี ผู้ว่าราชการจังหวัด (ข้าหลวง) และนายอำเภอเป็นข้าราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย มีตำแหน่งเป็นประธานคณะกรมการจังหวัด และประธานคณะกรมการอำเภอ ทั้งนี้ในส่วนท้องถิ่นซึ่งได้กำหนดให้มีการปกครองตนเองในรูปต่าง ๆ นั้น ก็อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทยด้วย

หลังจากนั้น ได้มีการปรับปรุงระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และการแบ่งส่วนราชการ กระทรวง ทบวง กรม อีกหลายครั้ง จนในปัจจุบัน

[แก้] หน้าที่และความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย

เมื่อพิจารณาถึงขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามบทบัญญัติกฎหมายอื่น ๆ ประกอบด้วยแล้ว ภารกิจและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย สรุปได้ 4 ประการ คือ

  1. ด้านการเมืองการปกครอง กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการอำนวยการเลือกตังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทุกระดับ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข การปกครอง และการบริหาร หน่วยราชการส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น และการรักษาความมั่นคงของชาติ
  2. ด้านเศรษฐกิจ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการส่งเสริมอาชีพและความเป็นอยู่ของประชาชน ซึ่งจะต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับส่วนราชการต่า ๆ ของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังรับผิดชอบการจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร การคุ้มครองผู้เช่านา การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรขนาดเล็กนอกเขตชลประทาน และการชลประทานราษฎร์ เป็นต้น
  3. ด้านสังคม กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการพัฒนาเยาวชน และการรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม เป็นต้น
  4. ด้านการพัฒนาทางกายภาพ กระทรวงมหาดไทยมีความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดชุมชนการจัดที่ดิน การให้บริการขั้นพื้นฐานในชนบท การจัดผังเมืองรวม ผังเมืองเฉพาะ และการให้บริการสาธารณูปโภคในเขตเมือง เป็นต้น

[แก้] หน่วยงานในสังกัดและหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล

กระทรวงมหาดไทยแบ่งส่วนราชการออกเป็น 8 กรม และมีหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแล 5 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

  1. สำนักงานรัฐมนตรี
  2. สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย
  3. กรมการปกครอง
  4. กรมการพัฒนาชุมชน
  5. กรมที่ดิน
  6. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
  7. กรมโยธาธิการและผังเมือง
  8. กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

รัฐวิสาหกิจ

  1. การไฟฟ้านครหลวง
  2. การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
  3. การประปานครหลวง
  4. การประปาส่วนภูมิภาค
  5. องค์การตลาด

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′01″N 100°29′51″E / 13.750385°N 100.49749°E / 13.750385; 100.49749

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น