กระทรวงคมนาคม (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กระทรวงคมนาคม
ราชอาณาจักรไทย
Lanchakon - 038.jpg
ตราพระรามทรงรถ
ที่ทำการ
ภาพรวม
วันก่อตั้ง 1 เมษายน พ.ศ. 2455
เขตอำนาจ ทั่วราชอาณาจักร
งบประมาณ 88,852,675,400 บาท (พ.ศ. 2555)[1]
รัฐมนตรีว่าการ จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ, รัฐมนตรี
พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก, รัฐมนตรีช่วย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์, รัฐมนตรีช่วย
ผู้บริหาร ศิลปชัย จารุเกษมรัตนะ, ปลัด
จำรูญ ตั้งไพศาลกิจ, รองปลัด
ศรศักดิ์ แสนสมบัติ, รองปลัด
ลูกสังกัด ดูในบทความ
เว็บไซต์
MOT.go.th

กระทรวงคมนาคม เป็นหน่วยงานราชการไทยประเภทกระทรวง มีหน้าที่ยกระดับการให้บริการประชาชน ของระบบโครงสร้างพื้นฐาน และบริการคมนาคมขนส่ง ให้มีความคุ้มค่าและทั่วถึง ทำให้ระบบคมนาคมขนส่ง มีความปลอดภัย มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ผสานและเชื่อมโยง โครงข่ายระบบขนส่งมวลชน ระบบขนส่งสาธารณะ ทั้งคนและสินค้า และขยายโอกาสการเดินทางสัญจร อย่างเสมอภาคโดยทั่วถึงกัน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

วันพุธ ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้ เจ้าพระยายมราช (ครุฑ บ่วงราบ) เป็นแม่กอง [2] ทำถนนในพระนครทุกสาย ในสมัยนั้นก็คือ ถนนรอบพระบรมมหาราชวัง วัดพระแก้ว ด้วยก่อนนี้เป็นเพียงถนนดินคนเดินไปมา จึงถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นบุกเบิกการคมนาคมทางบก แบบยุโรปขึ้นครั้งแรกในกรุงรัตนโกสินทร์ เพราะก่อนหน้านี้จะใช้การคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก และทำถนนต่อจากถนนท้ายวัง ก็คือถนนเจริญกรุง เป็นถนนสายแรกของประเทศไทย

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้ตั้งกระทรวงคมนาคมขึ้น ในปี พ.ศ. 2425 และให้รวมหน้าที่เกี่ยวกับการขนส่งทางรถไฟ การขนส่งทางบก การขนส่งทางน้ำ และการสื่อสารข่าว มารวมไว้ในกระทรวงคมนาคม อย่างไรก็ตาม กิจการด้านขนส่งทางบกก็ยังไม่มีหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงแม้แต่พระราชบัญญัติจัดตั้งกระทรวงและกรม พ.ศ. 2476 ก็มิได้กำหนดให้มีหน่วยงาน ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งทางบกโดยตรงอีกเช่นกัน

จนกระทั่งในปลายปี พ.ศ. 2476 จึงได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยระเบียบราชการ บริหารแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ. 2476(ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 9 ธันวาคม 2476 ) กำหนดให้มีกรมการขนส่งขึ้น ในกระทรวงเศรษฐการ ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการเศรษฐกิจแห่งชาติ รวมทั้งหน้าที่ในราชการ ส่วนคมนาคมด้วย แต่ก็ยังไม่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการขนส่งทางบก เพราะตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการสำนักงานและกรมในกระทรวงเศรษฐการ พ.ศ. 2476 ได้กำหนดส่วนราชการของกรมการขนส่งไว้เพียง 2 กอง คือ สำนักงานเลขานุการกรม และกองการบินพลเรือน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขยายกิจการบินพาณิชย์ของประเทศ

[แก้] หน่วยงานสังกัดกระทรวงคมนาคม

กระทรวงคมนาคมแบ่งหน่วยงานออกเป็น 8 หน่วย และ 13 รัฐวิสาหกิจ ดังนี้

[แก้] ส่วนราชการ

[แก้] รัฐวิสาหกิจ

[แก้] ในอดีต

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′32″N 100°30′30″E / 13.758946°N 100.508273°E / 13.758946; 100.508273


เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น