เรื่องการเลือกสื่อการสอน และการออกแบบการเรียนการสอน




1. จากปัญหาด้านการเรียนการสอน เรื่อง ปัญหาครอบครัวและสังคม
ครอบครัวเป็นสิ่งสำคัญ เป็นพื้นฐานในเรื่องต่างๆ ถ้าครอบครัวมีปัญหาก็จะส่งผลต่อสังคมเป็นปัญหาสังคมต่อมา ถ้าครอบครัวดีก็จะไม่มีปัญหาสังคม ปัจจุบันได้เกิดปัญหาเด็กเรียนไม่จบ เด็กมีปัญหาในการเรียน ปัญหาเหล่านี้ อาจจะมากจากครอบครัวก็เป็นได้ เพราะฉะนั้น กลุ่มของกระผมจึงต้องการสอนให้นักเรียนเข้าใจในครอบครัวว่าครอบครัวมีความสำคัญขนาดไหน

สื่อการสอนที่กลุ่มจะเลือกผลิต คือ จิ๊กซอว์ครอบครัวล้อมรั้วด้วยรัก

โดยสรุปเป็นแผนผังความคิดได้ดังนี้



large_779_Image4_Resize.gif














stress-shape-jigsaw.jpg








2. แบบจำลองระบบการออกแบบการสอน(หลังจากศึกษาระบบการสอนของนักวิชาการท่านๆ แล้วระบบการสอนของกลุ่มจะเป็นอย่างไร)

ระบบการสอนของกลุ่มชื่อ ครอบครัวสัมพันธ์ บ้านกับโรงเรียน
images.jpg








1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ : โดยต้องเป็นการกำหนดในเรื่องเดียวกัน โดยเป็นเรื่องที่นักเรียนอยากรู้ อยากศึกษา หากเป็นเรื่องใกล้ตัวก็จะเป็นเรื่องที่ดี และครูต้องตรวจสอบว่าหัวข้อเรื่องดังกล่าว ช่วยพัฒนานักเรียน ในด้านทักษะและความสามารถ

2. ครอบครัวเป็นผู้ให้ความเห็นในหัวข้อเรื่อง : กล่าวคือ หัวข้อเรื่องดังกล่าวควรเป็นหัวข้อที่ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมได้ ในที่นี้อาจเป็น พ่อ แม่ พี่น้อง หรือ ญาติสนิท ผู้ใดก็ได้ โดย(อาจ)สามารถมีส่วนร่วมในกระบวนการดังนี้
2.1 กำหนดเกณฑ์การประเมินผลงาน
2.2 เป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาในหัวข้อดังกล่าว
2.3 เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมดังกล่าวโดยร่วมมือกับนักเรียนในความปกครอง ดำเนินกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วง

3. ครูตรวจสอบการดำเนินกิจกรรม : เป็นผู้ให้คำแนะนำ และคอยช่วยเหลือ ให้กิจกรรมเป็นไปได้ด้วยดี

4. สรุปกิจกรรมร่วมกัน : ระหว่างผู้ปกครองกับครู สรุปเนื้อหา ประโยชน์ที่ได้รับ อุปสรรคที่พบเจอ

5. นำเสนอกิจกรรม : โดยสามารถร่วมกับทำสื่อระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง นำเสนอผ่านรูปแบบต่างๆ (เช่น สาธิตการทำขนมเทียนใบตอง) ต่อครูและเพื่อนร่วมชั้นเรียน

6. ประเมินผลการดำเนินการ : โดยใช้เกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ดังกล่าว และนักเรียนกับผู้ปกครองคนอื่นควรเป็นผู้ร่วมให้คะแนน รวมถึงครูด้วย โดยคำนึงนึงถึง ทักษะของผู้เรียนที่เพิ่มขึ้น และสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครองกับนักเรียน

7. ครูรวบรวมผลงาน : เพื่อบันทึกกิจกรรม และ รวบรวมผลงานที่ได้รับส่งสู่มือผู้ปกครอง เพื่อให้เป็นผลงานที่ภาคภูมิใจของสถาบันครอบครัว ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมร่วมกัน และใช้เวลาให้เกิดประโยชน์

จากการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ระบบการสอน ครอบครัวสัมพันธ์ บ้านกับโรงเรียน ได้สื่อถึงความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันครอบครัวกับสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเพิ่มพูนทักษะ พัฒนาความสามารถของผู้เรียน ปลูกจิตสำนึกรัครอบครัว กระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันและกันให้มากขึ้น เพื่อนำไปสู่ความรักของครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติสืบไป.







ข้อมูลอ้างอิง

ความหมายของระบบการสอน
เป็นการนำเอาวิธีระบบ หรือการจัดระบบมาใช้ในการเรียนการสอน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูลที่ป้อน (Input) กระบวนการ(Process) และมีผลผลิต (Output) เช่น ระบบการสอน จะมีองค์ประกอบย่อย ๆ เช่น ระบบครูผู้สอน ระบบนักเรียน ระบบสื่อการสอน ระบบการเลือกและใช้สื่อการสอน หรือแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งหน่วยย่อยเหล่านี้ สามารถทำงานในหน้าที่ของตนอย่างมีอิสระ แต่ถ้าหน่วยย่อยนั้นมีการเปลี่ยนแปลงก็จะส่งผลกระทบถึงหน่วยย่อยอื่น ๆ ด้วย ระบบการสอนที่มีการออกแบบโดยใช้วิธีระบบ (Systematic approach) มีการทดลองใช้อย่างกว้างขวาง มีการกำหนดขั้นตอนการสอน เช่น มีการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ การใช้แหล่งความรู้ ให้สามารถตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เช่น วัย เพศ อัตราการเรียนรู้ ความสามารถทางด้านสติปัญญา ความสนใจ ความถนัด ประสบการณ์เดิม ตลอดจนพื้นฐานทางวัฒนธรรม ซึ่งครูผู้สอนและนักเทคโนโลยีการศึกษา จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการออกแบบพัฒนาระบบ
การออกแบบระบบการสอน ได้มีนักการศึกษาไว้ดังนี้
โพแฟม และเบเกอร์ (James W. Popham, and Baker, 1970) ได้ออกแบบระบบการสอนโดยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์
2. พิจารณาพื้นฐานผู้เรียน
3. วางแผนกิจกรรมการเรียนการสอน
4. ประเมินผล


1.ระบบการสอนของ เกอร์ลาซ และ อีลี(Gerlach and Ely, 1980)
ได้เสนอรูปแบบการสอนซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ 10 ประการคือ


1. กำหนดวัตถุประสงค์ (Specification of Objectives) คือการวัตถุประสงค์ว่าผู้เรียนควรจะสามารถทำสิ่งใดได้บ้าง

2. กำหนดเนื้อหา (Specification of Content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้

3. พิจารณาพื้นฐานเดิมของผู้เรียน (Assessment of Entering Behaviors) การทราบถึงความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียน จะทำให้ผู้สอนสามารถนำสิ่งเหล่านั้นมาพิจารณาก่อนที่จะวางแผนการสอน โดยการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual differences) ในด้านต่าง ๆ ซึ่งสามารถค้นหาข้อมูลได้จาก

1.บันทึกข้อมูลต่างๆ (Use of Available Records) เช่น ระเบียนสะสม

2. แบบทดสอบที่ผู้สอนสร้างขึ้น (Teacher - Designed Pretest) เพื่อทดสอบถึงความรู้พื้นฐานหรือประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเกี่ยวกับเรื่องที่จะสอน

4. เลือกยุทธศาสตร์และเทคนิคการสอน (Determination of Strategy and Techniques) คือ วิธีการที่ครูใช้ในการให้ข้อมูล ในการเลือกแหล่งการเรียนรู้ และบทบาทของผู้เรียน ที่จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ซึ่งวิธีการดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. การบรรยาย (Expository Approach) จะเป็นวิธีการสอนแบบดั้งเดิม ที่เน้นครูเป็นผู้นำเสนอข้อมูลต่าง ๆ

2. วิธีการสืบเสาะหาความรู้ (Inquiry Approach) วิธีการนี้บทบาทของครูจะเป็นผู้อำนวยการในการจัดประสบการณ์ โดยการตั้งคำถาม สร้างเงื่อนไขให้ผู้เรียนได้เสาะแสวงหาคำตอบในการแก้ปัญหา โดยใช้ ข้อมูล ตำรา หนังสือ วัสดุ และผู้เรียนจะต้องพยายาม รวบรวม (Organize) จัดระบบข้อมูล ความรู้ต่าง ๆ โดยผู้เรียนจะต้องทำกิจกรรมด้วยตัวเอง (Active participations) ในที่สุดจะได้เป็นข้อสรุปที่สามารถนำไปใช้ในการวางแผนการดำเนินการเรียนการสอนได้

5. จัดกลุ่มผู้เรียน (Oganization of Students into Groups) เป็นการจัดกลุ่มเรียน

6. กำหนดเวลาเรียน (Allocation of Time) การเลือกยุทธวิธี เทคนิคต่าง ๆ นั้นล้วนมีผลต่อการเลือกและกำหนดเวลาเรียนที่เหมาะสมทั้งสิ้

7. กำหนดสถานที่เรียน (Allocate of Learning Space) จะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน วิธีการสอน คือ

1. ห้องสำหรับกลุ่มใหญ่ เรียนได้ครั้งละ 30-50 คน

2. ห้องขนาดเล็ก ใช้สำหรับการเรียนการสอนกลุ่มย่อย หรือการอภิปราย

3. ห้องเรียนแบบรายบุคคล อาจเป็นศูนย์สื่อที่จัดไว้สำหรับเรียนเป็นรายบุคคล

8. การกำหนดแหล่งการเรียนรู้ (Allocation of Resources) เป็นการเลือกแหล่งการเรียน หรือสื่อการสอน ซึ่งสามารถสนองตอบวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ภาพนิ่ง เสียง

9. ประเมินผล (Evaluation of Performance) เป็นการประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียนอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือ ผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลเป็นส่วนสุดท้ายในการวางแผนรูปแบบการสอน ที่ยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก

10. วิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (Analysis of Feedback) หลังจากที่ได้ประเมินผลการเรียนการสอนแล้วจะทำให้ทราบว่า การเรียนการสอนสามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด หากมีข้อบกพร่องก็สามารถวิเคราะห์ผล แล้วย้อนกลับมาเพื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยต่าง ๆ ตั้งแต่เริ่มกระบวนการ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และควรวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับให้รวดเร็วที่สุด มิใช่เพียงเฉพาะผู้สอนเท่านั้นแต่รวมถึงผู้เรียนด้วย


http://www.st.ac.th/av/inno_learnsyst.htm

โดย นายธธนนต์ นิยมญาติ








2.ระบบการสอนของเบราน์และคณะ (Brown and others, 1986)
เป็นระบบการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียน และมีการวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนการสอนซึ่งตอบสนองความแตกต่างของผู้เรียน ดังมีรายละเอียดดังนี้
- เป้าหมาย (goals) เพราะในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรมก็ตามจำเป็นต้องมีจุดประสงค์ จุดมุ่งหมาย ซึ่งจุดประสงค์ต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องนำไปเขียนเป็นจุดประสงค์การเรียนรู้ ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เกี่ยวข้องกับความรู้ ความจำ ความเข้าใจ การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินผล
2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) เกี่ยวข้องกับเจตคติ และความรู้สึกนึกคิด เช่น ความรู้สึกซาบซึ้งต่อดนตรี หรืองานศิลปะ เป็นต้น
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นเรื่องเกี่ยวกับทักษะต่าง ๆ เช่น ทักษะการเล่นฟุตบอล เป็นต้น
- สภาพการณ์ (Conditions) หมายถึง ประสบการณ์การเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียน สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยยึดหลักการที่ว่า "การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดจากกระทำด้วยตนเองทั้งทางร่างกายและจิตใจ"
- แหล่งการเรียน (Resources) นับเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของการจัดการสอน ซึ่งรวมไปถึงสิ่งแวดล้อมทางกายภาพต่าง ๆ ที่จะเอื้อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ วัสดุ อุปกรณ์รวมถึงบุคลากร ครูผู้สอน ห้องสมุด ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อ ผู้ช่วยสอนและอื่น ๆ ซึ่งมีผลโดยตรงหรือทางอ้อมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี
- ผลลัพธ์ (Outcomes) คือผลที่ได้รับการกิจกรรมการเรียนการสอน เช่น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ซึ่ง จะมีการรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาเป็นข้อปรับปรุงเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

http://www.st.ac.th/av/inno_learnsyst.htm
โดย นายธธนนต์ นิยมญาติ





3. ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)

1. ความต้องการในการเรียน จุดมุ่งหมายในการสอน สิ่งสำคัญ/ข้อจำกัด (Learner Needs, Goals, Priorities, Constraints)การประเมินความต้องการในการเรียน นับว่ามีส่วนสำคัญในการกำหนดจุดมุ่งหมายและโปรแกรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการนั้น กล่าวได้ว่าการประเมินความต้องการการกำหนดจุดมุ่งหมายและการเผชิญกับ ข้อจำกัดต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งสำคัญขั้นแรกในการเริ่มต้นของกระบวนการออกแบบการสอนจึงจัดอยู่ในศูนย์กลาง ของระบบ และนับว่าเป็นพื้นฐานของข้อปลีกย่อยต่าง ๆ 9 ประการในกระบวนการออกแบบระบบการสอนเคมพ์ (Jerrold/Kemp)แบ่งขั้นตอนในการพิจารณาการจัดระบบการสอนเป็นสาระสำคัญ 10 ประการ คือ
2. หัวข้อเรื่อง ภารกิจ และจุดประสงค์ทั่วไป (topics-job tasks purposes)ในการสอนหรือโปรแกรมของการอบรมที่จัดขึ้นนั้นย่อมประกอบด้วยหัวข้อเรื่องของวิชาซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพื้นฐานความรู้ และ/หรือหัวข้องานที่เป็นพื้นฐานทางทักษะด้านกายภาพ
3. ลักษณะของผู้เรียน (learner characteristics)เป็นการสำรวจเพื่อพิจารณาถึงภูมิหลังด้านสังคม การศึกษา และสภาพเศรษฐกิจของผู้เรียนแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดสภาพการเรียนรู้และวิธีการเรียนให้เหมาะสมตามความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
4. เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์ภารกิจ (subject content, task analysis)ในการวางแผนการสอน เนื้อหาวิชาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนับว่าเป็นสิ่งสำคัญมากอย่างหนึ่ง โดยที่ต้องมีการเรียบเรียงเนื้อหาตามลำดับขั้นตอนให้เหมาะสม และง่ายต่อความเข้าใจของผู้เรียน เนื้อหาวิชาและการวิเคราะห์งานนี้สามารถใช้เพื่อเป็นเกณฑ์ในการกำหนดวัตถุประสงค์ หรือเพื่อจัดหาโสตทัศนูปกรณ์ และเพื่อเป็นการออกแบบเครื่องมือทดสอบเพื่อประเมินการเรียนก็ได้
5. วัตถุประสงค์ของการเรียน (learning objectives)เป็นการตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนว่าผู้เรียนควรรู้หรือสามารถทำอะไรได้บ้างเมื่อเรียนบทเรียนนั้นจบแล้ว นอกจากนั้นผู้เรียนจะต้องมีพฤติกรรมอะไรบ้างที่สามารถวัด หรือสังเกตเห็นได้ วัตถุประสงค์นี้จึงต้องเป็นวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมเพื่อเป็นการวางโครงร่างของการสอน นับว่าเป็นการช่วยในการวางแผนการสอนและการจัดลำดับเนื้อหาวิชา ตลอดจนเป็นแนวทางในการประเมินผลผู้เรียนและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน
6. กิจกรรมการเรียนการสอน (teaching / learning activiies)ในการวางแผนและเลือกกิจกรรมการเรียนการสอนนั้นผู้สอนควรจะคำนึงถึงแผนสำคัญ 3 อย่างคือ การสอนเนือ้หาในชั้นเรียนควรเป็นรูปแบบใด วิธีการเรียนของผู้เรียนควรเป็นอย่างไร และกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียนควรมีอะไรบ้าง สิ่งต่างๆ เหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่กับความเหมาะสม เช่น ควรมีการเสนอเนื้อหาการเรียนในชั้นแก่ผู้เรียนพร้อมกันในคราวเดียวทั้งหมด หรือควรให้เป็นการเรียนรายบุคคล หรือการสร้างเสริมประสบการณ์แก่ผู้เรียนนั้นควรจะใช้วิธีการอภิปรายหรือวิธีการทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสมย่อมขึ้นอยู่กับสภาพการณ์ต่างๆ หลายประการ นับตั้งแต่จุดมุ่งหมาย ลักษณะของผู้เรียน เนื้อหาวิชา และการวัดผล โดยที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงกลุ่มผู้เรียนว่ามีขนาดเท่าใด เพื่อที่จะสามารถจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของวิชาและความสนใจของกลุ่ม นอกจากนั้นการเลือกวัสดุอุปกรณ์สื่อการสอนก็ต้องให้สัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอนด้วย
7. ทรัพยากรในการสอน (instructional resources)ทรัพยากรในที่นี้หมายถึงสื่อการสอนที่จะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้กิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปอย่างดี มีประสิทธิภาพ สื่อต่างๆ เหล่านี้สามารถแยกได้เป็น 6 ประเภทคือ ของจริง สื่อที่ไม่ใช้เครื่องฉาย เครื่องเสียง ภาพนิ่งที่ใช้กับเครื่องฉาย ภาพเคลื่อนไหวที่ใช้กับเครื่องฉาย และการใช้สื่อประสม ผู้สอนต้องเลือกสื่อมาใช้ให้เหมาะสมโดยคำนึงถึงกลุ่มผู้เรียน และสถานการณ์การเรียนการสอนด้วย
8. บริการสนับสนุน (support services)บริการสนับสนุนรวมถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในการเรียนการสอน ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับงบประมาณของโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษาแต่ละแห่งด้วยว่าจะมีงบประมาณในการจ้างบุคลากรและซื้อวัสดุอุปกรณ์เพื่อใช้ในการศึกษามากน้อยเพียงใด บริการนี้รวมไปถึงค่าใช้จ่ายในการให้คำปรึกษาและวางแผนของนักวิชาการ การทดลองผลงาน การฝึกอบรม บริการสนับสนุนแบ่งได้เป็น 6 ประเภท คือ งบประมาณ สถานที่ สื่อวัสดุ อุปกรณ์ บุคลากร และตารางที่เหมาะสมในการทำงาน
9. การประเมินผลการเรียน (learning evaluation)เป็นการประเมินผลว่าผู้เรียนนั้นได้รับความรู้ สามารถบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่วางไว้หรือไม่เพียงใด โดยการสร้างเครื่องมือทดสอบและวัดผล ทั้งนี้เพื่อเป็นการทราบข้อบกพร่องต่างๆ ของระบบการสอน และเพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอน
10.การทดสอบก่อนการเรียน (pretesting)เป็นการทดสอบก่อนว่าผู้เรียนมีประสบการณ์เดิม และพื้นความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะสอนใหม่อย่างไรบ้าง หรือมีความรู้ความชำนาญอะไรบ้างเกี่ยวกับวิชาที่เรียนมาแล้ว การประเมินผลก่อนการเรียนเป็นเครื่องชี้ความพร้อมของผู้เรียนว่า ควรจะได้เรียนรู้อะไรเพิ่มเติมอีกบ้างจากความรู้เก่าที่เคยเรียนมา
ในการใช้ระบบการสอนทั้ง 10 ขั้นตอนนี้ ผู้สอนสามารถจะเริ่มใช้ในขั้นตอนใดก่อนก็ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับกัน และสามารถพัฒนาการสอนในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้นได้ด้วยการใช้การประเมินผล 2 ลักษณะคือ การประเมินผลในระหว่างดำเนินงานพัฒนาระบบการสอน (formative evaluation)และการประเมินผลรวบยอดหลังจากการใช้ระบบการสอนนั้นสิ้นสุดลง (summative evaluation)ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบการสอนให้ใช้ได้ดีและมีคุณภาพ

external image p75197671225.jpg


ภาพ ระบบการสอนของเคมพ์ (Jerrold/Kemp)
credit : http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_kemp.htm

นางสาว สุภาวดี ทองสุข รหัส 06530093



4.ระบบการสอนของคลอสไมร์และริปเปิล (Klausmeir และ Ripple)

Klausmeir และ Ripple (อ้างถึงใน สงัด, 2525 : 15) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการสอนไว้ 7 ส่วน คือ

1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน

2. เตรียมความพร้อมของนักเรียน

3. จัดเนื้อหาวิชา วัสดุ อุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ

4. จัดกิจกรรมการเรียนการสอน

5. ดำเนินการสอน

6. สัมฤทธิ์ผลของนักเรียน

7. การจัดและประเมินผลการเรียนการสอน



credit : http://www.ripb.ac.th/elearn



นางสาว สุภาวดี ทองสุข รหัส 06530093



5.แบบจำลอง ADDIE
external image image001.jpg


เป็นกระบวนการออกแบบการสอนที่กระทำวนซ้ำใหม่ ในที่ผลของการประเมินผลเพื่อพัฒนาของแต่ละขั้นตอนที่ชี้แนะให้นักออกแบบการสอนพิจารณากลับไป ที่ขั้นตอนก่อนหน้า ผลิตผลขั้นสุดท้ายของขั้นตอนหนึ่งๆ เป็นผลิตผลเริ่มต้นของขั้นตอนต่อไป

การออกแบบระบบการสอนโดยใช้แบบจำลอง ADDIE

(Instructional System Design (ISD): Using the ADDIE Model)

การวิเคราะห์(Analysis)

ขั้นตอนการวิเคราะห์เป็นรากฐานสำหรับขั้นตอนการออกแบบการสอนขั้นตอนอื่นๆ ในระหว่างขั้นตอนนี้ คุณจะต้องระบุปัญหา, ระบุแหล่งของปัญหา และวินิจฉัยคำตอบที่ทำได้ ขั้นตอนนี้อาจประกอบด้วยเทคนิคการวินิจฉัยเฉพาะ เช่น การวิเคราะห์ความต้องการ(ความจำเป็น) , การวิเคราะห์งาน, การวิเคราะห์ภารกิจ ผลลัพธ์ของขั้นตอนนี้มักประกอบด้วย เป้าหมาย (goal), และรายการภารกิจที่จะสอน ผลลัพธ์เหล่านี้จะถูกนำเข้าไปยังขั้นตอนการออกแบบต่อไป

การออกแบบ (Design)

ขั้นตอนการออกแบบเกี่ยวข้องกับการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาการสอนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องกำหนดโครงร่างวิธีการให้บรรลุถึงเป้าหมายการสอน ซึ่งได้รับการวินิจฉัยในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์ และขยายผลสารัตถะการสอน

องค์ประกอบบางประการของขั้นตอนการออกแบบอาจจะประกอบด้วยการเขียนรายละเอียดกลุ่มประชากรเป้าหมาย, การดำเนินการวิเคราะห์การเรียน, การเขียนวัตถุประสงค์และข้อทดสอบ, เลือกระบบการนำส่ง และจัดลำดับขั้นตอนการสอน ผลลัพธ์ของขั้นตอนการออกแบบจะเป็นข้อมูลนำเข้าสำหรับขั้นตอนการพัฒนาต่อไป

การพัฒนา (Development)

ขั้นตอนการพัฒนาสร้างขึ้นบนบนขั้นตอนการวิเคราะห์และการออกแบบ จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือสร้างแผนการสอนและสื่อของบทเรียนในระหว่างขั้นตอนนี้คุณจะต้องพัฒนาการสอนและสื่อทั้งหมดที่ใช้ในการสอน และเอกสารสนับสนุนต่างๆ สิ่งเหล่านี้อาจจะประกอบด้วยฮาร์ดแวร์ (เช่น เครื่องมือสถานการณ์จำลอง) และซอฟต์แวร์ (เช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน)

การดำเนินการให้เป็นผล (Implementation)

ขั้นตอนการดำเนินการให้เป็นผล หมายถึงการนำส่งที่แท้จริงของการสอน ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบชั้นเรียน หรือห้องทดลอง หรือรูปแบบใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานก็ตาม จุดมุ่งหมายของขั้นตอนนี้คือการนำส่งการสอนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ขั้นตอนนี้จะต้องให้การส่งเสริมความเข้าใจของผู้เรียนในสารปัจจัยต่างๆ, สนับสนุนการเรียนรอบรู้ของผู้เรียนในวัตถุประสงค์ต่างๆและเป็นหลักประกันในการถ่ายโอนความรู้ของผู้เรียนจากสภาพแวดล้อมการเรียนไปยังการงานได้

การประเมินผล (Evaluation)

ขั้นตอนนี้วัดผลประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการสอน การประเมินผลเกิดขึ้นตลอดกระบวนการออกแบบการสอนทั้งหมด กล่าวคือ ภายในขั้นตอนต่างๆ และระหว่างขั้นตอนต่างๆ และภายหลังการดำเนินการให้เป็นผลแล้ว การประเมินผล อาจจะเป็นการประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation) หรือการประเมินผลรวม (Summative evaluation)

การประเมินผลเพื่อพัฒนา (Formative evaluation):

ดำเนินการต่อเนื่องในภายในและระหว่างขั้นตอนต่างๆ จุดมุ่งหมายของการประเมินผลชนิดนี้ คือ เพื่อปรับปรุงการสอนก่อนที่จะนำแบบฉบับขั้นสุดท้ายไปใช้ให้เป็นผล

การประเมินผลรวม (Summative evaluation):

โดยปกติเกิดขึ้นภายหลังการสอน เมื่อแบบฉบับขั้นสุดท้ายได้รับการดำเนินการใช้ให้เป็นผลแล้ว การประเมินผลประเภทนี้จะประเมินประสิทธิผลการสอนทั้งหมด ข้อมูลจากการประเมินผลรวมโดยปกติมักจะถูกใช้เพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับการสอน (เช่นจะซื้อชุดการสอนนั้นหรือไม่ หรือจะดำเนินการต่อไปหรือไม่)

จาก :

http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ADDIE/addie.htm

นาย ชลันธร ปานอ่ำ รหัส 06530069





6. โรเบิร์ต กาเย่ (Robert Gange') ได้นำเอาแนวแนวความคิด 9 ประการ มาใช้ประกอบการออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้บทเรียนที่เกิดจากการออกแบบในลักษณะการเรียนการสอนจริง โดยยึดหลักการนำเสนอเนื้อหาและจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หลักการสอนทั้ง 9 ประการได้แก่
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention)ก่อนที่จะเริ่มการนำเสนอเนื้อหาบทเรียน ควรมีการจูงใจและเร่งเร้าความสนใจให้ผู้เรียนอยากเรียน ดังนั้น บทเรียนคอมพิวเตอร์

จึงควรเริ่มด้วยการใช้ภาพ แสง สี เสียง หรือใช้สื่อประกอบกันหลายๆ อย่าง โดยสื่อที่สร้างขึ้นมานั้นต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาและน่าสนใจ ซึ่งจะมีผลโดยตรงต่อความสนใจของผู้เรียน นอกจากเร่งเร้าความสนใจแล้ว ยังเป็นการเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนพร้อมที่จะศึกษาเนื้อหาต่อไปในตัวอีกด้วย


2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective)วัตถุประสงค์ของบทเรียน นับว่าเป็นส่วนสำคัญยิ่งต่อกระบวนการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะได้ทราบถึงความคาดหวังของบทเรียนจากผู้เรียน นอกจากผู้เรียนจะทราบถึงพฤติกรรมขั้นสุดท้ายของตนเองหลังจบบทเรียนแล้ว จะยังเป็นการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึงประเด็นสำคัญของเนื้อหา รวมทั้งเค้าโครงของเนื้อหาอีกด้วย การที่ผู้เรียนทราบถึงขอบเขตของเนื้อหาอย่างคร่าวๆจะช่วยให้ผู้เรียนสามารถผสมผสานแนวความคิดในรายละเอียดหรือส่วนย่อยของเนื้อหาให้สอดคล้องและสัมพันธ์กับเนื้อหา

ในส่วนใหญ่ได้ ซึ่งมีผลทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น นอกจากจะมีผลดังกล่าวแล้ว ผลการวิจัยยังพบด้วยว่า ผู้เรียนที่ทราบวัตถุประสงค์ของการเรียนก่อนเรียนบทเรียน จะสามารถจำและเข้าใจในเนื้อหาได้ดีขึ้นอีกด้วย


3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge)การทบทวนความรู้เดิมก่อนที่จะนำเสนอความรู้ใหม่แก่ผู้เรียน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหาวิธีการประเมิน ความรู้ที่จำเป็นสำหรับบทเรียนใหม่ เพื่อไม่ให้ผู้เรียนเกิดปัญหาในการเรียนรู้ วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ การทดสอบก่อนบทเรียน (Pre-test) ซึ่งเป็นการประเมินความรู้ของผู้เรียน เพื่อทบทวนเนื้อหาเดิมที่เคยศึกษาผ่านมาแล้ว และเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับเนื้อหาใหม่ นอกจากจะเป็นการตรวจวัดความรู้พื้นฐานแล้ว บทเรียนบางเรื่องอาจใช้ผลจากการทดสอบก่อนบทเรียนมาเป็นเกณฑ์จัดระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถของผู้เรียน เพื่อจัดบทเรียนให้ตอบสนองต่อระดับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนแต่ละคน แต่อย่างไรก็ตาม ในขั้นการทบทวนความรู้เดิมนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการทดสอบเสมอไป หากเป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นเป็นชุดบทเรียนที่เรียนต่อเนื่องกันไปตามลำดับ การทบทวนความรู้เดิม อาจอยู่ในรูปแบบของการกระตุ้นให้ผู้เรียนคิดย้อนหลัง

ถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้มาก่อนหน้านี้ก็ได้ การกระตุ้นดังกล่าวอาจแสดงด้วยคำพูด คำเขียน ภาพ หรือผสมผสานกันแล้วแต่ความเหมาะสม ปริมาณมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับเนื้อหา ตัวอย่างเช่น การนำเสนอเนื้อหาเรื่องการต่อตัวต้านทานแบบผสม ถ้าผู้เรียนไม่สามารถเข้าใจวิธีการหาความต้านทานรวม กรณีนี้ควรจะมีวิธีการวัดความรู้เดิมของผู้เรียนก่อนว่ามีความเข้าใจเพียงพอ

ที่จะคำนวณหาค่าต่างๆ ในแบบผสมหรือไม่ ซึ่งจำเป็นต้องมีการทดสอบก่อน ถ้าพบว่าผู้เรียนไม่เข้าใจวิธีการคำนวณ บทเรียนต้องชี้แนะให้ผู้เรียนกลับไปศึกษาเรื่องการต่อตัวต้านทาน
แบบอนุกรมและแบบขนานก่อน หรืออาจนำเสนอบทเรียนย่อยเพิ่มเติมเรื่องดังกล่าว เพื่อเป็นการทบทวนก่อนก็ได้


4. นำเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information)หลักสำคัญในการนำเสนอเนื้อหาของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็คือ ควรนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ ง่าย แต่ได้ใจความ การใช้ภาพประกอบ จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาง่ายขึ้น และมีความคงทนในการจำได้ดีกว่าการใช้คำอธิบายเพียงอย่างเดียว โดยหลักการที่ว่า ภาพจะช่วยอธิบายสิ่งที่เป็นนามธรรมให้ง่ายต่อการรับรู้ แม้ในเนื้อหาบางช่วงจะมีความยากในการที่จะคิดสร้างภาพประกอบ แต่ก็ควรพิจารณาวิธีการต่างๆ ที่จะนำเสนอด้วยภาพให้ได้ แม้จะมีจำนวนน้อย แต่ก็ยังดีกว่าคำอธิบายเพียงคำเดียว อย่างไรก็ตามการใช้ภาพประกอบเนื้อหาอาจไม่ได้ผลเท่าที่ควร หากภาพเหล่านั้นมีรายละเอียดมากเกินไป ใช้เวลามากไปในการ

ปรากฏบนจอภาพ ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา ซับซ้อน เข้าใจยาก และไม่เหมาะสมในเรื่องเทคนิคการออกแบบ เช่น ขาดความสมดุลย์ องค์ประกอบภาพไม่ดี เป็นต้น


5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) ตามหลักการและเงื่อนไขการเรียนรู้ (Condition of Learning)ผู้เรียนจะจำเนื้อหาได้ดี หากมีการจัดระบบการเสนอเนื้อหาที่ดีและสัมพันธ์กับประสบการณ์เดิมหรือความรู้เดิมของผู้เรียน บางทฤษฎีกล่าวไว้ว่า การเรียนรู้ที่กระจ่างชัด (Meaningfull Learning) นั้น ทางเดียวที่จะเกิดขึ้นได้ก็คือการที่ผู้เรียนวิเคราะห์และตีความในเนื้อหาใหม่ลงบนพื้นฐานของความรู้และประสบการณ์เดิม รวมกันเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ ดังนั้น หน้าที่ของผู้ออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในขั้นนี้ก็คือ พยายามค้นหาเทคนิคในการที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนนำความรู้เดิมมาใช้ในการศึกษาความรู้ใหม่ นอกจากนั้น ยังจะต้องพยายามหาวิถีทางที่จะทำให้การศึกษาความรู้ใหม่ของผู้เรียนนั้นมีความกระจ่างชัดเท่าที่จะทำได้ เป็นต้นว่า การใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย ได้แก่ เทคนิคการให้ตัวอย่าง (Example) และตัวอย่างที่ไม่ใช่ตัวอย่าง (Non-example) อาจจะช่วยทำให้ผู้เรียนแยกแยะความแตกต่างและเข้าใจมโนคติของเนื้อหาต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น

ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียอาจใช้วิธีการค้นพบ (Guided Discovery) ซึ่งหมายถึง การพยายามให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเอง โดยบทเรียนจะค่อยๆ ชี้แนะจากจุดกว้างๆ และแคบลงๆ จนผู้เรียนหาคำตอบได้เอง นอกจากนั้น การใช้คำอธิบายกระตุ้นให้ผู้เรียนได้คิด ก็เป็นเทคนิคอีกประการหนึ่งที่สามารถ

นำไปใช้ในการชี้แนวทางการเรียนรู้ได้ สรุปแล้วในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบจะต้องยึดหลักการจัดการเรียนรู้ จากสิ่งที่มีประสบการณ์เดิมไปสู่เนื้อหาใหม่ จากสิ่งที่ยากไปสู่สิ่งที่ง่ายกว่า ตามลำดับขั้น


6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response)นักการศึกษากล่าวว่า การเรียนรู้จะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใดนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับระดับและขั้นตอนของการประมวลผลข้อมูล หากผู้เรียนได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมกิจกรรมในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหา และร่วมตอบคำถาม จะส่งผลให้มีความจำดีกว่าผู้เรียนที่ใช้วิธีอ่านหรือคัดลอกข้อความจากผู้อื่นเพียงอย่างเดียว บทเรียนคอมพิวเตอร์ มีข้อได้เปรียบกว่าโสตทัศนูปการอื่นๆ เช่น วิดิทัศน์ ภาพยนตร์ สไลด์ เทปเสียง เป็นต้น ซึ่งสื่อการเรียนการสอนเหล่านี้จัดเป็นแบบปฏิสัมพันธ์ไม่ได้ (Non-interactive Media) แตกต่างจากการเรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ผู้เรียนสามารถมีกิจกรรมร่วมในบทเรียนได้หลายลักษณะ ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น เลือกกิจกรรม และปฏิสัมพันธ์กับบทเรียน กิจกรรมเหล่านี้เองที่ไม่ทำให้ผู้เรียนรู้สึกเบื่อหน่าย เมื่อมีส่วนร่วม ก็มีส่วนคิดนำหรือติดตามบทเรียน ย่อมมีส่วนผูกประสานให้ความจำดีขึ้น

7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback)ผลจากการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนจะกระตุ้นความสนใจจากผู้เรียนได้มากขึ้น ถ้าบทเรียนนั้นท้าทาย โดยการบอกเป้าหมายที่ชัดเจน และแจ้งให้ผู้เรียนทราบว่าขณะนั้นผู้เรียนอยู่ที่ส่วนใด ห่างจากเป้าหมายเท่าใด การให้ข้อมูลย้อนกลับดังกล่าว ถ้านำเสนอด้วยภาพจะช่วยเร่งเร้าความสนใจ

ได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะถ้าภาพนั้นเกี่ยวกับเนื้อหาที่เรียน อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิกอาจมีผลเสียอยู่บ้างตรงที่ผู้เรียนอาจต้องการดูผล ว่าหากทำผิด แล้วจะเกิดอะไรขึ้น ตัวอย่างเช่น บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมการสอนแบบแขวนคอสำหรับการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ผู้เรียนอาจตอบโดยการกดแป้นพิมพ์ไปเรื่อยๆ

โดยไม่สนใจเนื้อหา เนื่องจากต้องการดูผลจากการแขวนคอ วิธีหลีกเลี่ยงก็คือ เปลี่ยนจากการนำเสนอภาพ ในทางบวก เช่น ภาพเล่นเรือเข้าหาฝั่ง ภาพขับยานสู่ดวงจันทร์ ภาพหนูเดินไปกินเนยแข็ง เป็นต้น ซึ่งจะไปถึงจุดหมายได้ด้วยการตอบถูกเท่านั้น หากตอบผิดจะไม่เกิดอะไรขึ้น อย่างไรก็ตามถ้าเป็นบทเรียนที่ใช้กับกลุ่มเป้าหมายระดับสูงหรือ

เนื้อหาที่มีความยาก การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยคำเขียนหรือกราฟจะเหมาะสมกว่า


8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance)การทดสอบความรู้ใหม่หลังจากศึกษาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรียกว่า การทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ทดสอบความรู้ของตนเอง นอกจากนี้จะยังเป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ เพื่อที่จะไปศึกษาในบทเรียนต่อไปหรือต้องกลับไปศึกษาเนื้อหาใหม่ การทดสอบหลังบทเรียนจึงมีความจำเป็นสำหรับบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทุกประเภท นอกจากจะเป็นการประเมินผลการเรียนรู้แล้ว การทดสอบยังมีผลต่อความคงทนในการจดจำเนื้อหาของผู้เรียนด้วย แบบทดสอบจึงควรถามแบบเรียงลำดับตามวัตถุประสงค์ของบทเรียน ถ้าบทเรียนมีหลายหัวเรื่องย่อย อาจแยกแบบทดสอบออกเป็นส่วนๆ ตามเนื้อหา โดยมีแบบทดสอบรวมหลังบทเรียนอีกชุดหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ออกแบบบทเรียนต้องการแบบใด

9. สรุปและนำไปใช้ (Review and Transfer)การสรุปและนำไปใช้ จัดว่าเป็นส่วนสำคัญในขั้นตอนสุดท้ายที่บทเรียนจะต้องสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีโอกาสทบทวนความรู้ของตนเองหลังจากศึกษาเนื้อหาผ่านมาแล้ว ในขณะเดียวกัน บทเรียนต้องชี้แนะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องหรือให้ข้อมูลอ้างอิงเพิ่มเติม เพื่อแนะแนวทางให้ผู้เรียนได้ศึกษาต่อในบทเรียนถัดไป หรือนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นต่อไป




external image Robert%20Gagne.gif


จาก :

http://www.kroobannok.com/92

http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_gagne.htm


นาย ชลันธร ปานอ่ำ รหัส 06530069





7. ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์



ซีลส์ และกลาสโกว์ (Seels; & Glasgow. 1990) ได้เสนอการจัดระบบการเรียนการสอน โดยมีขั้นตอนดังนี้



1. การวิเคราะห์ปัญหา (Problem Analysis) เป็นการพิจารณาว่าเกิดปัญหาอะไรในการเรียนการสอนโดยผ่านการรวบรวมและเทคนิคการประเมินและระบุสิ่งที่เป็นปัญหา

2. วิเคราะห์การสอนและกิจกรรม (Task and Instructional Analysis) เป็นการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อกำหนดด้านเจตคติเพื่อกำหนดสิ่งที่ได้เรียนมาก่อน

3. การกำหนดวัตถุประสงค์และแบบทดสอบ (Objective and Tests) เป็นการกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและแบบทดสอบอิงเกณฑ์

4. กลยุทธ์การเรียนการสอน (Instructional Strategy) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับกลยุทธ์และองค์ประกอบด้านการเรียนการสอน

5. การตัดสินใจเลือกสื่อการสอน (Media Decision) เป็นการเลือกสื่อการเรียนการสอนและวิธีการใช้เพื่อทำให้การเรียนการสอนบรรลุผล

6. การพัฒนาการสอน (Materials Development) เป็นการวางแผนสำหรับผลผลิต การพัฒนาวัสดุ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนการสอน

7. การประเมินผลย่อยระหว่างเรียน (Formative Evaluation) เป็นการประเมินผลเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบพัฒนาการของผู้เรียน

8. การนำไปใช้และบำรุงรักษา (Implementation Maintenance) เป็นการนำไปใช้เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน

9. การประเมินผลรวมภายหลังการเรียน (Summative Evaluation) เป็นการพิจารณาประเมินผลว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่

10. การเผยแพร่และขยายผล (Dissemination Diffusion) เป็นขั้นของการจัดการให้มีการเผยแพร่ ขยายผลนวัตกรรมการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น

องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์ แสดงดังภาพประกอบ 1



Image
Image

ภาพประกอบ 1 ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์

http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=50&limit=1&limitstart=3

นางสาว พัชชานันท์ โภชฌงค์ รหัส 06530080




8. ระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี
เนิร์ค และเยนตรี (Knirk; & Gentry. 1971) ได้กำหนดองค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนเป็น 6 ส่วน คือ
1. การกำหนดเป้าหมาย เป็นการกำหนดเป้าหมายของการสอนไว้อย่างกว้าง ๆ
2. การวิเคราะห์กิจกรรม เป็นการวิเคราะห์งานต่าง ๆ ที่จะต้องทำโดยการย่อยเป้าหมายของการสอนออกเป็นจุดประสงค์ของการสอนเพื่อให้มีความละเอียดและชัดเจนยิ่งขึ้น
3. การกำหนดกิจกรรม เป็นการกำหนดกิจกรรมให้เป็นหมวดหมู่ และเลือกเอาเฉพาะกิจกรรมที่มีความเหมาะสมที่สุด
4. การดำเนินการสอน เป็นขั้นของการนำเอาแผนการที่วางไว้ไปสอนในชั้นเรียน ผู้สอนจำเป็นต้องควบคุมการดำเนินกิจกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด
5. การประเมินผล เป็นการประเมินผลการดำเนินงานทั้งหมดของระบบ เพื่อให้ทราบจุดดีและจุดอ่อนที่จะต้องปรับปรุงแก้ไข
6. การปรับปรุงแก้ไข เป็นขั้นของการนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลไปแก้ไขจุดอ่อนของระบบการเรียนการสอนเพื่อจะทำให้เป็นระบบการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสมหรือมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี แสดงดังภาพประกอบ 1

Image
Image


ภาพประกอบ 1 ระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี


http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=50&limit=1&limitstart=4

นางสาว พัชชานันท์ โภชฌงค์ รหัส 06530080




9. ระบบการสอนของบริกส์
เลสลี่ บริกส์ (Leslie Briggs) เป็นนักการศึกษาที่สําคัญในวงการออกแบบและพัฒนาระบบการเรียน การสอน ได้มีการดําเนินการออกแบบในแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูแบบการเลือกใช้ สื่อการสอน ซึ่งได้มีการวางแผนเพื่อนําเอานวัตกรรมมาเผยแพร่ด้วย ระบบการเรียนการสอนของ Briggs เหมาะสําหรับการออกแบบ

การเรียนการสอนในระดับหน่วยวิชา หรือระดับโปรแกรมการเรียนรายวิชา ซึ่งถ้า สามารถดําเนินการตามคําแนะนําทุกขั้นตอนแล้ว การใช้ระบบของ Briggs จะได้ผลดีโดยเฉพาะ

ในการพัฒนา โปรแกรมการเรียนการสอนรายวิชา

external image bricks.jpg



http://jaidee95.blogspot.com/2011/05/blog-post_8214.html


นางสาวจิาภรณ์ จันทร์โชติ รหัส 06530065




10. รูปแบบระบบการออกแบบการสอนของดิคและคาเรย์
ดิค และคาเรย์ (Dick; & Carey. 1985) ได้เสนอรูปแบบระบบการออกแบบการสอน สรุปรวมได้ 3 องค์ประกอบ คือ

1. กำหนดจุดมุ่งหมายของการสอน

2. การพัฒนาการสอน

3. การประเมินการเรียนการสอน

จาก 3 องค์ประกอบ สามารถจัดแบ่งกิจกรรมการออกแบบระบบการสอนออกเป็น 10 ขั้นตอน คือ

1. กำหนดจุดมุ่งหมายการสอน (Identify Instructional Goals) เป็นการกำหนดความมุ่งหมายการสอน ซึ่งต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับความมุ่งหมายทางการศึกษา จากนั้นก็ทำการวิเคราะห์ความจำเป็น (Needs Analysis) และวิเคราะห์ผู้เรียน

2. การวิเคราะห์การสอน (Conduct Instructional Analysis) ขั้นตอนนี้อาจทำก่อนหรือหลังขั้นที่ 3 หรืออาจทำไปพร้อม ๆ กันก็ได้ การวิเคราะห์การสอนเป็นการวิเคราะห์ภารกิจ หรือวิเคราะห์ขั้นตอนดำเนินการสอน ผลการวิเคราะห์การสอนที่ได้ จะเป็นการจัดหมวดหมู่ของภารกิจ (Task Classification) ตามลักษณะของจุดมุ่งหมายการสอน

3. ศึกษาพฤติกรรมเบื้องต้นและคุณลักษณะของผู้เรียน (Identify Entry Behaviors) ว่าเป็นผู้เรียนระดับใด มีพื้นความรู้เพียงใด

4. เขียนจุดมุ่งหมายการเรียน (Write Performance Objectives) ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายเฉพาะหรือจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม และสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายการสอน เพื่อประโยชน์ คือ

4.1 ช่วยให้มองเห็นแนวทางการเรียนการสอน

4.2 เป็นแนวทางในการวางแผน การจัดสภาพแวดล้อมการเรียน

4.3 ช่วยให้เห็นแนวทางในการสร้างแบบทดสอบ

4.4 ช่วยผู้เรียนให้เรียนอย่างมีจุดมุ่งหมาย

5. สร้างแบบทดสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion Referenced Test Items) เพื่อประเมินการเรียนการสอน

6. พัฒนายุทธศาสตร์การสอน (Develop Instructional Strategy) เป็นแผนการสอนหรือเหตุการณ์การสอน ที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพตามจุดมุ่งหมายการสอน

7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials) เป็นการพัฒนาและเลือกสื่อการเรียนการสอนทั้งสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อโสตทัศน์

8. ออกแบบและจัดการประเมินระหว่างเรียน (Design and Conduct Formative Evaluation)

9. ออกแบบและจัดการประเมินหลังเรียน (Design and Conduct Summative Evaluation)

10. แก้ไขปรับปรุงการสอน (Revise Instruction) เป็นขั้นการแก้ไขและปรับปรุงการสอนตั้งแต่ขั้นที่ 2 ถึงขั้นที่ 8

องค์ประกอบของรูปแบบระบบการออกแบบการสอนของดิคและคาเรย์ แสดงดังภาพประกอบ



external image dick1.jpg



http://jaidee95.blogspot.com/2011/05/blog-post_6443.html

นางสาวจิาภรณ์ จันทร์โชติ รหัส 06530065




11. เทคโนโลยี (Technology)

ปัจจุบันเป็นยุคที่มีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวันมากมาย ซึ่งจะช่วยให้คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้น ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยี มักจะนึกถึงสิ่งของต่างๆ ที่เป็นเครื่องยนต์กลไก หรือเครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ ที่พบเห็นทั่วไป แต่ความจริงแล้ว เทคโนโลยีมีความหมายกว้างขวางกว่าที่คนทั่วไปเข้าใจกัน กล่าวคือ เมื่อพิจารณาจากรากศัพท์ เทคโนโลยี (Technology) มาจากคำในภาษากรีก คือ Tekhne หมายถึง ศิลปะ วิทยาศาสตร์ หรือ ทักษะ (art, sciences or skill) และตรงกับคำในภาษาลาติน ว่า Texere หมายถึง การสาน หรือการสร้าง (to weave or to construct) ถ้าจะอธิบายความหมายโดยรวมแล้วมีผู้ให้คำจำกัดความของ เทคโนโลยีไว้ในลักษณะต่างๆ ดังนี้

Galbraith (1967 : 12) กล่าวว่า เทคโนโลยี หมายถึง การประยุกต์อย่างมีระบบของความรู้ทางวิทยาศาสตร์ หรือความรู้ด้านอื่นใดที่ได้จัดระบบดีแล้ว เพื่อนำไปสู่ผลในทางปฏิบัติ

Edgar Dale (1969 : 610) ให้ความหมายของ เทคโนโลยีว่า เทคโนโลยีไม่ได้หมายถึงเฉพาะแต่เครื่องจักรเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทำงานอย่างมีระบบที่จะทำให้ได้ผลบรรลุตามแผนการ (Technology, clearly, is not a machine ; it is a planned outcomes)

Carter V. Good (1973 :592) ได้จำแนกเทคโนโลยีออกเป็น 5 ความหมาย คือ

1) ระบบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับเทคนิค

2) การนำเอาวิธีการทางวิทยาศาสตร์มาใช้เพื่อแก้ปัญหาในเชิงปฏิบัติ

3) การจัดระบบของข้อเฑ็จจริงและหลักเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ ทั้งนี้เพื่อจุดประสงค์ในทาง

ปฏิบัติและอาจรวมถึงหลักการต่างๆที่จะก่อให้เกิดผลทางการเรียนการสอนด้วย

4) ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และวิธีระบบที่ใช้ในอุตสาหกรรมศิลป์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการ

ประยุกต์ใช้ในโรงงานต่างๆ

5) การนำเอาความรู้ทางตรรกศาสตร์ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์มาใช้ เพื่อทำให้เกิด

ความเจริญทางด้านวัตถุ

http://supanida-opal.blogspot.com/2007/05/blog-post_2592.html


นายธนสรณ์ สุมังคละกุล รหัส 06530074






12. เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology)

จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ มากมาย เพื่อความสะดวกสบาย และความพึงพอใจของมนุษย์ เช่น ทางการเกษตร มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยในการเพิ่มผลผลิต และการถนอมพืชผลทางการเกษตร ทางการสื่อสารคมนาคม เทคโนโลยีช่วยให้มนุษย์ติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็ว เสมือนว่าโลกปัจจุบันเล็กลง เพราะสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้อย่างทั่วถึง ภายในระยะเวลาอันสั้น
ในทางการศึกษาเช่นเดียวกับด้านอื่นๆ ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ในการศึกษามากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการปรับปรุงระบบต่างๆ ในการดำเนินงานการศึกษาให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เมื่อมีการนำเทคโนโลยีใช้ในการศึกษา จึงมีชื่อเรียกเฉพาะว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) ซึ่งถ้าจะอธิบายความหมายของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษา (Educational Technology) นั้น นักการศึกษา และสถาบันที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาต่างๆ ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

Good (1973:592) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้เพื่อการออกแบบและส่งเสริมระบบการเรียนการสอน โดยเน้นที่วัตถุประสงค์ทางการศึกษาที่สามารถวัดได้อย่างถูกต้องแน่นอน มีการยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนมากกว่ายึดเนื้อหาวิชา มีการใช้การศึกษาเชิงปฏิบัติโดยผ่านการวิเคราะห์และการใช้โสตทัศนูปกรณ์ รวมถึงเทคนิคการสอนโดยใช้อุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ สื่อการสอนต่างๆ ในลักษณะของสื่อประสม และการศึกษาด้วยตนเอง

Gagne and Briggs (1974 : 210-211) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีการศึกษานั้น พัฒนามาจากการออกแบบการเรียนการสอนในรูปแบบต่างๆ โดยรวมถึง
1) ความสนใจในเรื่องความแตกต่างของบุคคลในเรื่องของการเรียนรู้ เช่น บทเรียนแบบ
โปรแกรมและบทเรียนการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วย เป็นต้น
2) ด้านพฤติกรรมศาสตร์ และทฤษฎีการเรียนรู้ เช่น ทฤษฎีการเสริมแรงของ
บี.เอฟ.สกินเนอร์ (B.F.Skinner)
4) เทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์กายภาพ เช่น โสตทัศนูปกรณ์ประเภทต่างๆ และรวมถึง
สื่อสิ่งพิมพ์ด้วย
สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology : AECT,1977 :1) ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการศึกษา ไว้ว่าเป็นกระบวนการอันซับซ้อนเกี่ยวกับคน มีการบูรณาการขั้นตอน ความคิด เครื่องมือ และองค์กร เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและการประดิษฐ์ วิธีการ การประเมินผลและการจัดการเพื่อหาทางออกของปัญหาที่เกิดขึ้น รวมถึงรูปแบบการเรียนรู้ของมนุษย์ด้วย

Roblyer and Edwards (2000 : 6) ให้ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษาว่าเป็นการผสมผสานระบบและเครื่องมือ รวมถึงการมุ่งแก้ไขปัญหาความต้องการทางการศึกษา ด้วยการให้ความสำคัญถึงการประยุกต์เครื่องมือที่มีอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ คอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีที่มีความสัมพันธ์กัน

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523 : 16) ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการศึกษาเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวิธีทางการศึกษา ซึ่งหมายถึงระบบการนำผลิตผลทางวิทยาศาสตร์ (วัสดุ) และผลิตผลทางวิศวกรรม (อุปกรณ์หรือเครื่องมือ) ผสมผสานกับหลักการทางพฤติกรรมศาสตร์ (วิธีการ)เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

จากความหมายของคำว่า เทคโนโลยีการศึกษาที่นำเสนอในข้างต้น กล่าวโดยสรุป จะได้ว่า เทคโนโลยีการศึกษา มีความหมายครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ เหล่านี้

1) การนำเอาวัสดุ (Materials หรือ Software) ต่างๆ มาใช้ในการศึกษา ซึ่งได้แก่ สื่อต่างๆ เช่น แผนภูมิ หุ่นจำลอง รูปภาพ เทปเสียง สไลด์ วีดิทัศน์ ตลอดจนการผลิตบทเรียนสำเร็จรูป โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI.) โปรแกรมการเรียน (Courseware) ตำรา แบบเรียน หรือสื่อสิ่งพิมพ์อื่นๆ

2) การนำเครื่องอุปกรณ์ (Devices หรือ Hardware) มาใช้ในการศึกษา ที่เรียกว่าสื่อหนัก

หรือสื่อใหญ่ (Big Media) ซึ่งเป็นเครื่องยนต์กลไก เครื่องไฟฟ้าและเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เทปบันทึกเสียง และภาพ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องเล่นแผ่นซีดีหรือ ดีวีดี เครื่องวิชวลไลเซอร์ (Visualizer หรือ Visual Presenter) คอมพิวเตอร์ เป็นต้น

3) การนำเอาเทคนิคและวิธีการ (Technique and Methods) มาใช้ในการศึกษา เช่น การแสดง การเล่นละคร หุ่นกระบอก การสาธิต การทดลอง การทัศนศึกษา การจัดนิทรรศการ เทคนิคในการจัดระบบการเรียนการสอนแบบต่างๆ การสอนโดยระบบประชุมทางไกล (Video Teleconference) การใช้ระบบโทรศึกษา (Tele-Education) การเรียนในลักษณะ E-Learning



เทคโนโลยีการเรียนการสอน (Instructional Technology)

เทคโนโลยีที่นำเอามาใช้ตามความหมายของเทคโนโลยีการศึกษานั้น เป็นการนำเอาเทคโนโลยีมา

ใช้ในการศึกษาทุกๆด้าน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของการสอน การพัฒนาหลักสูตร การวัด และประเมินผล หรืองานสนับสนุนการศึกษาอื่นๆ ที่จะทำให้การจัดการศึกษามีคุณภาพยิ่งขึ้น แต่ถ้าจะให้ความหมายถึง เทคโนโลยีการเรียนการสอนนั้น จะมีขอบเขตแคบลงมาโดยเน้นเฉพาะที่ การเรียนการสอนเท่านั้น ซึ่งมีนักการศึกษา ได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

Silber (1970 : 21) ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการเรียนการสอนว่าเป็นการพัฒนา (วิจัย ออกแบบ ผลิต ประเมินผล สนับสนุน การนำไปใช้) องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน (สาร บุคคล เครื่องมือ อุปกรณ์ เทคนิค สถานที่) และการจัดการของการพัฒนา (องค์กร บุคคล) ด้วย

เป้าหมายเพื่อการแก้ปัญหาทางการศึกษาอย่างเป็นระบบ

The Commission on Instructional Technology (1970 :19) ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการเรียนการสอน ว่าเป็น วิถีทางอย่างเป็นระบบของการออกแบบ การปฏิบัติ และประเมินผลในกระบวนการทั้งหมดของการเรียนรู้และการสอน ในเป้าหมายเฉพาะด้าน โดยมีพื้นฐานจากการวิจัยในการเรียนรู้ของมนุษย์และการติดต่อสื่อสาร และใช้การผสมผสานสื่อบุคคล และศูนย์การเรียนรู้หรือทรัพยากรที่ไม่ใช่มนุษย์ เพื่อทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Seels and Richey (1994 :1)ได้ให้ความหมายของ เทคโนโลยีการเรียนการสอน ไว้ว่าเป็นทฤษฎีและปฏิบัติของการออกแบบ การพัฒนา การนำไปใช้ประโยชน์ การจัดการและการประเมินผลของกระบวนการและทรัพยากรในการเรียนรู้

จากความหมายของคำว่า เทคโนโลยีการเรียนการสอนที่นำเสนอในข้างต้น จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีการเรียนการสอน เป็นส่วนประกอบย่อยของเทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งเทคโนโลยีการเรียนการสอนนั้นเป็นการนำวิธีระบบ (System Approach) หรือการมองกรรมวิธีหนึ่งๆแบบองค์รวม มาใช้ในการเรียนการสอน โดยประยุกต์ทฤษฎีและองค์ความรู้อื่นๆ เช่น ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีการสื่อสาร ฯลฯ
นำมาพัฒนาและออกแบบการเรียนการสอน เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นนั่นเอง
สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media)
ก่อนจะให้ความหมายของสื่อการเรียนการสอน จะขอกล่าวถึงความหมายของ คำว่า สื่อ เสียก่อน
สื่อ หรือ Media ตรงกับคำในภาษาลาตินว่า Medium ซึ่งแปลว่า ระหว่าง หมายถึง สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลข่าวสาร เพื่อที่จะช่วยให้การสื่อสารระหว่างผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารถึงกันได้ตามวัตถุประสงค์
ความหมายของ สื่อการเรียนการสอน มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายไว้ ดังนี้

Heinich (1982 : 9) กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอน ว่าสื่อการเรียนการสอนไม่ได้เป็นเพียงแค่การจัดหาประสบการณ์อันเป็นรูปธรรมเท่านั้น แต่จะช่วยผู้เรียนในการบูรณาการประสบการณ์เดิมของผู้เรียนอีกด้วย

Reiser and Gagne (1983 cited in Reiser 2001 : 54) ให้ความหมายของสื่อการเรียนการสอน ว่าหมายถึง สิ่งต่างๆที่มีลักษณะทางกายภาพ ที่ส่งผ่านการเรียนการสอนในรูปแบบการนำเสนอไปยังผู้เรียน
โดยสรุปแล้ว สื่อการสอน จึงหมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน ได้แก่ วัสดุสิ่งของที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น รวมถึงวิธีการสอนและกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยสิ่งเหล่านั้นจะเป็นตัวกลางในการนำเอาความรู้จากแหล่งของความรู้ไปยังผู้รับ ซึ่งหมายถึงผู้เรียน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ

สรุปเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอน

จากการให้ความหมายของคำที่เกี่ยวข้องข้างต้น จึงสรุปได้ว่า เทคโนโลยีและสื่อการเรียน
การสอนนั้น เป็นการนำวัตถุ เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานเทคนิคต่างๆ องค์ความรู้ กิจกรรม กรรมวิธี ระบบเทคนิคเชิงสังคม (Sociotechnical System) มาเป็นสิ่งเอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอน หรือที่เรียกว่า สื่อการเรียนการสอน (Instructional Media) โดยมุ่งหวังการบรรลุวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน และให้ผู้เรียนมีกระบวนการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น



http://supanida-opal.blogspot.com/2007/05/blog-post_2592.html

นายธนสรณ์ สุมังคละกุล รหัส 06530074






แบบบันทึกกิจกรรมที่ 2
เรื่อง การเลือกสื่อการสอน และการออกแบบการเรียนการสอน

ประเด็น/หัวข้อหลัก คือ การเลือกสื่อการสอน และการออกแบบการเรียนการสอน

ที่
ประเด็น
แหล่งที่มา
วิธีการที่ได้ข้อมูลมา
ผู้ที่รับผิดชอบ
1
ระบบการสอนของเกอร์ลาซและอีลี
http://www.st.ac.th/av/inno_learnsyst.htm
ย่อ
ธธนนต์
2
ระบบการสอนชองเบราน์และคณะ
http://www.st.ac.th/av/inno_learnsyst.htm
ย่อ
ธธนนต์
3
ระบบการสอนของเคมพ์
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_kemp.htm
ย่อ
สุภาวดี
4
ระบบการสอนของคลอสไมร์และริปเปิล
http://www.ripb.ac.th/elearn
ย่อ
สุภาวดี
5
แบบจำลองADDIE
http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww521/joemsiit/joemsiit-web1/ADDIE/addie.htm
ย่อ
ชลันธร
6
โรเบิร์ต กาเย่
http://www.kroobannok.com/92http://www.chontech.ac.th/~abhichat/Edu_Theory/Edu_gagne.htm
ย่อ
ชลันธร
7
ระบบการเรียนการสอนของซีลส์และกลาสโกว์
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=50&
limit=1&limitstart=3
ย่อ
พัชชนันท์
8
ระบบการเรียนการสอนของเนิร์คและเยนตรี
http://www.chontech.ac.th/~abhichat/1/index.php?option=com_content&task=view&id=18&Itemid=50&limit=1&limitstart=4
ย่อ
พัชชานันท์
9
ระบบการสอนของสงัด อุรนันท์
http://jaidee95.blogspot.com/p/blog-page_20.html
ย่อ
จิราภรณ์
10
ระบบการสอนของไทเลอร์

http://www.gotoknow.org/blog/maisuree2008/202903

ย่อ
จิราภรณ์
11
เทคโนโลยี
http://supanida-opal.blogspot.com/2007/05/blog-post_2592.html
ย่อ
ธนสรณ์
12
เทคโนโลยีการศึกษา
http://supanida-opal.blogspot.com/2007/05/blog-post_2592.html
ย่อ
ธนสรณ์