ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (อังกฤษ: European Economic Community, EEC; บ้างเรียกสั้นเพียง ประชาคมยุโรป (European Community)) เป็นองค์การระหว่างประเทศจัดตั้งขึ้นด้วยทรรศนะที่จะทำให้เกิดบูรณาการทางเศรษฐกิจ (รวมทั้งตลาดร่วม) ในบรรดาหกสมาชิกดั้งเดิมหกประเทศ ได้แก่ เบลเยียม ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปจัดตั้งขึ้นโดยสนธิสัญญาโรม พ.ศ. 2500 ร่วมกับประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (ECSC) และประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรป (EURATOM) ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปเป็นสถาบันหนึ่งในประชาคมยุโรป (European Communities) ภายใต้สนธิสัญญารวมประชาคม (Merger Treaty, หรือสนธิสัญญาบรัสเซลส์) พ.ศ. 2508

ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปถูกจัดรวมเข้ากับสหภาพยุโรปเมื่อจัดตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2536 โดยสนธิสัญญามาสตริกต์ ถูกเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเป็น ประชาคมยุโรป เพื่อสะท้อนถึงฐานนโยบายที่กว้างกว่าที่ครอบคลุมโดยสนธิสัญญา ประชาคมฯ ได้ประกอบเป็นเสาหลักแรกของสามเสาหลักสหภาพยุโรปกระทั่งยุบไปใน พ.ศ. 2552 โดยสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งผนวกอดีตเสาหลักสหภาพยุโรปและให้เหตุผลว่า สหภาพยุโรปจะ "เข้าแทนที่และรับช่วงต่อประชาคมยุโรป" ข้อนี้ว่าด้วยองค์การระหว่างประเทศอิสระซึ่งมีอยู่ก่อน พ.ศ. 2536

[แก้] สมาชิก

ประเทศสมาชิก มี 12 ประเทศคือ

  • เบลเยี่ยม
  • เดนมาร์ก
  • เยอรมนี
  • ฝรั่งเศส
  • กรีซ
  • ไอร์แลนด์
  • อิตาลี
  • ลักเซมเบิร์ก
  • เนเธอร์แลนด์
  • โปรตุเกส
  • สเปน
  • สหราชอาณาจักร

[แก้] ประวัติ

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น