ยูเอฟโอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ตัวอย่างภาพเชื่อว่าเป็น ยูเอฟโอ ซึ่งปัจจุบันตรวจสอบแล้วว่าเป็นภาพปลอมแปลงขึ้น

ยูเอฟโอ, วบกอม หรือ วัตถุบินไม่สามารถระบุเอกลักษณ์ (อ. UFO : Unidentified Flying Object) เป็นศัพท์ทางวิทยาศาสตร์การทหาร บัญญัติโดย กองทัพอากาศสหรัฐ (USAF : United States Air Force) หมายถึง วัตถุบินที่มีอยู่จริงหรือสังเกตเห็นได้ แต่ไม่สามารถระบุได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นอะไร ทั้งโดยผู้สังเกตการณ์และการสืบสวนสอบสวน

วบกอม จำนวนมาก แม้ว่าถูกระบุเป็น วัตถุบินไม่สามารถระบุเอกลักษณ์ เมื่อแรกสังเกตพบ หรือเมื่อตรวจสอบแล้ว แต่เมื่อตรวจสอบอีกครั้งด้วยวิธีที่ดีกว่า หรือด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น กลับระบุได้ว่าเป็น วัตถุบินสามารถระบุเอกลักษณ์ (อ. IFO : Identified Flying Object) บางกรณีอาจเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติ และบางกรณีอาจเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งโดยไม่ตั้งใจให้เข้าใจผิดหรือตั้งใจปลอมให้เข้าใจผิด

คำศัพท์อื่นที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ จานบิน บัญญัติโดย เคนเนธ อาร์โนลด์ ซึ่งอ้างถึงวัตถุบินลึกลับที่เขาพบขณะขับเครื่องบินส่วนตัวบนท้องฟ้าเมื่อ พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) ว่า "... เคลื่อนไหวคล้ายจานรองถ้วยที่นำไปร่อนไปบนผิวน้ำ ..."

เนื่องจากเป็น วัตถุไม่เกิดเองตามธรรมชาติ ที่ลักษณะปรากฏไม่สอดคล้องกับสิ่งประดิษฐ์ใดของมนุษยชาติ จึงมักเชื่อมโยงและเชื่อว่า ยูเอฟโอ เป็นเครื่องมือ หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นยานพาหนะ ของมนุษย์ต่างดาว ที่ใช้เดินทางมายังโลก เพราะจุดประสงค์ที่ไม่สามารถชี้ชัดได้

อย่างไรก็ตาม มักเข้าใจผิดว่า ยูเอฟโอ ทั้งหมด หมายถึง จานบิน (ของมนุษย์ต่างดาว) แต่โดยทางนัยตรง แท้จริงแล้ว ยูเอฟโอ บางส่วนอาจไม่เข้าข่ายจานบิน เพราะอาจระบุได้ภายหลังว่าเป็นวัตถุบินสามารถระบุเอกลักษณ์ เช่น ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ฯลฯ

รายงานและหลักฐานการพบเห็นหรือเผชิญหน้ากับยูเอฟโอหรือปรากฏการณ์ทางอากาศที่ไม่สามารถระบุเอกลักษณ์ มีตั้งแต่ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลายแห่งทั่วโลก แม้แต่ในประเทศไทย แต่รายงานในสมัยใหม่เริ่มเผยแพร่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง โดยลูกเรือเครื่องบินฝ่ายพันธมิตรพบเห็นวัตถุบินที่เรียกกันภายหลังว่า ฟูไฟเตอร์ (foo fighter) เมื่อ พ.ศ. 2489 (ค.ศ. 1946) หรือ การพบเห็นจรวดผี (ghost rockets) โดยมหาชน หลังจากการเปิดเผยที่ในวงกว้างครั้งแรก ในสหรัฐอเมริกา โดย เคนเนท อาร์โนลด์ เมื่อกลาง พ.ศ. 2490 (ค.ศ. 1947) รายงานการพบเห็นทั่วไปมีมากขึ้น รายงานนับหมื่น ทั้งเรื่องจริง เข้าใจผิด และเรื่องแต่ง เกิดขึ้นทั่วโลก

สำหรับในประเทศไทย คำเรียกอื่นในภาษาไทยได้แก่ จานผี และ วบกอม ทั้งสองคำเกิดในสมัยที่ยูเอฟโอเริ่มเป็นที่รู้จักในประเทศไทย ประมาณ พ.ศ. 2530 คำว่า จานผี เป็นคำอธิบายลักษณะที่ปรากฏ ส่วนคำว่า วบกอม เป็นคำย่อ โดยนิตยสารวิทยาศาสตร์ไทยหลายเล่ม เช่น นิตยสารชัยพฤกษ์ เทียบกับการใช้คำย่อ UFO ในภาษาอังกฤษ ย่อมาจากกลุ่มคำว่า "วัตถุบินที่กำหนดเกลักษณ์ไม่ได้" ซึ่งใช้ในหนังสือในวงการวิทยาศาสตร์อย่างแพร่หลายในช่วงนั้น ปัจจุบันหนังสือเกี่ยวกับยูเอฟโอในภาษาไทยน้อยเล่มยังคงเรียกว่า วบกอม ในหมู่ผู้ที่คุ้นเคยแต่เดิมเท่านั้น

ตั้งแต่คำนี้เผยแพร่ก็ถูกโยงให้เกี่ยวข้องอย่างมากกับจานบินและยานอวกาศต่างดาว แม้ว่าวัตถุบินลึกลับอาจจัดจำแนกเป็นยูเอฟโอได้ตามลักษณะที่ปรากฏโดยไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว การสืบสวนยูเอฟโอทางการทหารและพลเรือนส่วนใหญ่สรุปว่า วัตถุบินจำนวนมากสามารถระบุเอกลักษณ์ได้ ทั้งโดยตรงและโดยหลักการของออคแคม [1]

เหตุการณ์สำคัญเกี่ยวกับยูเอฟโอที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด เกิดเมื่อ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2490 โดยวัตถุที่เชื่อว่าเป็นยูเอฟโอ ตกกระแทกพื้นเสียหายที่ทะเลทรายในเมืองรอสเวลล์ รัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา มีพยานพบเห็นและหลักฐานภาพถ่ายและวิดีโอที่อ้างว่าเกี่ยวข้องถูกเผยแพร่มาก แต่ทางกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกาอ้างว่าเป็นบัลลูนตรวจอากาศ ซึ่งคนจำนวนมากไม่เชื่อและก่อให้เกิดทฤษฎีสมคบคิดหลายแนวคิด

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

เมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2104 (ค.ศ. 1561) มีรายงานว่า เหนือนูเรมเบิร์ก เยอรมนี เต็มไปด้วยวัตถุจำนวนมาก ภาพพิมพ์ไม้เมื่อ พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566) โดย ฮันส์ เกรเซอร์

ปรากฏการณ์ที่ไม่ปกติทางอากาศ มีรายงานการพบเห็นตลอดทุกช่วงประวัติศาสตร์ บางส่วนเป็นปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสงสัย ส่วนใหญ่ได้แก่ ดาวหาง ดาวตกสว่าง ดาวเคราะห์ดวงใดดวงหนึ่งที่มองเห็นด้วยตาเปล่า อุปราคาของดาวเคราะห์ หรือปรากฏการณ์ภาพลวงตาในชั้นบรรยากาศที่สั่นไหว เช่น ซันด๊อก (ทรงกลดแบบพิเศษ) หรือ เมฆรูปเลนส์ เช่น ดาวหางฮัลเลย์ ซึ่งถูกบันทึกครั้งแรกโดยนักดาราศาสตร์ชาวจีนเมื่อ 240 ก่อนคริสตกาล และอาจก่อนหน้าถึง 467 ก่อนคริสตกาล


[แก้] ก่อนสมัยใหม่

ดูบทความหลักที่ List of UFO sightings
Photo of an unidentified object New Hampshire in 1870; known as the mystery airship.

[แก้] การพบเห็นของเคนเนท

ดูบทความหลักที่ Kenneth Arnold#June 24, 1947 UFO sighting
This shows the report Kenneth Arnold filed in 1947 about his UFO sighting.

[แก้] การศึกษายูเอฟโอ

[แก้] สถาบันแบทเทลเมมโมเรียล

[แก้] สมมติฐาน

จักรวาลอันกว้างใหญ่ ไม่สามารถวัดขนาดปริมาตรได้ ดวงดาวมากมาย พูดแบบภาษาชาวบ้านคือ เราโดดเดี่ยวในจักรวาลจริงหรือ

[แก้] นักวิจัยยูเอฟโอ

ผู้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับด้านนี้ มักเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้สนใจ หรืออื่นๆ บางครั้งอาจเรียก ผู้ค้นคว้ายานต่างดาว หรือ ผู้เชี่ยวชาญยานต่างดาว

[แก้] องค์กรที่เกี่ยวข้อง

[แก้] หลักฐานทางกายภาพ

[แก้] วิศวกรรมย้อนรอย

[แก้] กรณีศึกษาที่สำคัญ

[แก้] การสืบสวนและผลลัพธ์

[แก้] ในไทย

ในประเทศไทยนั้น มีสถานที่ ๆ มีผู้เชื่อว่าพบเห็นสิ่งที่เชื่อว่าเป็นจานบินอยู่บ่อยครั้ง คือ เขากะลา ในจังหวัดนครสวรรค์ ถึงขนาดมีการตั้งเป็นชมรมหรือกลุ่มที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยเฉพาะ และมักมีการสังเกตการณ์อยู่บ่อย ๆ[2]

สำหรับนักวิชาการชาวไทยที่ศึกษาเกี่ยวกับเรื่องจานบินและมนุษย์ต่างดาว ได้แก่ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา และ ศ.ดร.นพ.เทพพนม เมืองแมน โดยเฉพาะกับ ศ.ดร.นพ.เทพพนม กล่าวว่าได้ศึกษาและติดต่อกับมนุษย์ต่างดาวนี้มานานแล้ว โดยผ่านการทำสมาธิและสื่อสารกันทางโทรจิต โดยมีการจัดพิสูจน์และเชิญสื่อมวลชนและบุคคลทั่วไปเข้าสังเกตุการณ์อยู่บ่อยครั้ง แต่ทว่าก็ไม่มีครั้งไหนที่จะสามารถพิสูจน์ได้แท้จริงหรือมีน้ำหนักเพียงพอว่าคือ จานบิน[3][4]

[แก้] ในสหรัฐอเมริกา

[แก้] ในแคนาดา

[แก้] ในบริเตน

[แก้] ในประเทศอื่น

[แก้] การประชุมสโมสรเนชั่นแนลเพรส

[แก้] การจัดจำแนก

[แก้] ระบบไฮเนก

[แก้] ระบบวัลลี

[แก้] ทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด

[แก้] ยูเอฟโอในบันเทิงคดี

[แก้] ในนวนิยาย ภาพยนตร์ และละคร

[แก้] ไทย

[แก้] ต่างประเทศ

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] ทั่วไป

  • ไชยประกาย ดวงธรรม. วบกอม (UFO) เมื่อครั้งเยือนโลกอดีต. พิมพ์ครั้งที่ 1, กำแก้ว 2545. ISBN 974-86358-6-4
  • สิงห์คำ โต๊ะงาม. ความเป็นมาของวบกอม (UFO). พิมพ์ครั้งที่ 1, ศิลปกรรม 2541.
  • Thomas E. Bullard, "UFOs: Lost in the Myths", pages 141 - 191 in "UFOs, the Military, and the Early Cold War Era", pages 82 - 121 in "UFOs and Abductions: Challenging the Borders of Knowledge" David M. Jacobs, editor; 2000, University Press of Kansas, ISBN 0-7006-1032-4
  • Jerome Clark, The UFO Book: Encyclopedia of the Extraterrestrial, 1998, Visible Ink Press, ISBN 1-57859-029-9. Many classic cases and UFO history provided in great detail; highly documented.
  • J. Deardorff, B. Haisch, B. Maccabee, Harold E. Puthoff (2005). "Inflation-Theory Implications for Extraterrestrial Visitation". Journal of the British Interplanetary Society 58 (ฉบับที่): 43–50. http://www.ufoskeptic.org/JBIS.pdf. 
  • Curran, Douglas. In Advance of the Landing: Folk Concepts of Outer Space. (revised edition), Abbeville Press, 2001. ISBN 0-7892-0708-7. Non-sensational but fair treatment of contemporary UFO legend and lore in N. America, including the so-called "contactee cults." The author traveled the United States with his camera and tape recorder and directly interviewed many individuals.
  • Hall, Richard H., editor. The UFO Evidence: Volume 1. 1964, NICAP, reissued 1997, Barnes & Noble Books, ISBN 0-7607-0627-1. Well-organized, exhaustive summary and analysis of 746 unexplained NICAP cases out of 5000 total cases — a classic.
  • Hall, Richard H. The UFO Evidence: A Thirty-Year Report. Scarecrow Press, 2001. ISBN 0-8108-3881-8. Another exhaustive case study, more recent UFO reports.
  • Hendry, Alan. The UFO Handbook: A Guide to Investigating, Evaluating, and Reporting UFO Sightings. New York: Doubleday & Co., 1979. ISBN 0-385-14348-6. Skeptical but balanced analysis of 1300 CUFOS UFO cases.
  • Hynek, J. Allen. The UFO Experience: A scientific inquiry. Henry Regnery Co., 1972.
  • Hynek, J. Allen. The Hynek UFO Report. New York: Barnes & Noble Books, 1997. ISBN 0-7607-0429-5. Analysis of 640 high-quality cases through 1969 by UFO legend Hynek.
  • Rose, Bill and Buttler, Tony. Flying Saucer Aircraft (Secret Projects). Leicester, UK: Midland Publishing, 2006. ISBN 1-85780-233-0.
  • Sagan, Carl & Page. Thornton, editors. UFOs: A Scientific Debate. \Cornell University Press, 1996. ISBN 0-7607-0192-2. Pro and con articles by scientists, mostly to the skeptical side.
  • Sheaffer, Robert The UFO Verdict: Examining the Evidence, 1986, Prometheus Books ISBN 0-87975-338-2
  • Sheaffer, Robert UFO Sightings: The Evidence, 1998, Prometheus Books, ISBN 1-57392-213-7 (revised edition of The UFO Verdict)
  • Sturrock, Peter A. (1999). The UFO Enigma: A New Review of the Physical Evidence. New York: Warner Books. ISBN 0-446-52565-0
  • Canada's Unidentified Flying Objects: The Search for the Unknown, a virtual museum exhibition at Library and Archives Canada

[แก้] เชิงวิเคราะห์

[แก้] เชิงจิตวิทยา

  • Carl G. Jung, "Flying Saucers: A Modern Myth of Things Seen in the Skies" (translated by R.F.C. Hull); 1979, Princeton University Press, ISBN 0-691-01822-7

[แก้] เชิงประวัติศาสตร์

[แก้] เชิงเทคโนโลยี

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

คุณสามารถหาข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ ยูเอฟโอ ได้โดยค้นหาจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย:
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-en.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย

เครื่องมือส่วนตัว

สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น