หมวดหมู่
อิสลาม-มุสลิม
หน้าหลัก       ยินดีต้อนรับสู่คลังความรู้มุสลิมไทยโพสต์

วิธีลดความอ้วนที่ได้ผลเร็วที่สุด วิธีลดความอ้วน ภายใน 7 วัน วิธีลดความอ้วนแบบธรรมชาติ วิธีลดความอ้วนภายใน3วัน วิธีลดความอ้วนของผู้ชาย ภาษาอาหรับที่เจอบ่อย      คำง่ายๆภาษาอาหรับ    ศัพท์เกาหลีแบ่งเป็นหมวด    คำศัพท์เกาหลี เรียกญาติ    ศัพท์เกาหลีง่ายๆ     
   คำศัพท์ญี่ปุ่น เรียกญาติ    วันเดือนปีในภาษามลายู    การเขียนวันเดือนปีในภาษามลายู    ศัพท์ยาวี    ศัพท์ญี่ปุ่นแบ่งเป็นหมวด     ภาษาไทยน่ารู้    
สระ 32 ตัว    ซาร่า ปาทาน    ขวัญกมล ปาทาน    น.ส.ขวัญกมล ปาทาน     ศัพท์อาหรับที่เจอบ่อย ศัพท์ญี่ปุ่นง่ายๆ  

 


ค้นหา
หากมีคำค้นหลายตัว สามารถคั่นด้วย comma (,)
หน้าหลัก >> สำรองข้อมูล >> คลังความรู้
พิมพ์หน้านี้  |  ส่งให้เพื่อน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การประเมินผลการปฏิบัติงาน
เทคโนโลยีสารสนเทศกับ การประเมินผลการปฏิบัติงาน



    
เทคโนโลยีสารสนเทศกับการประเมินผลการปฏิบัติงาน
 
 
 
การประเมินผลการปฏิบัติงานนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แต่จะเอียงมาเป็นทางศิลป์มากกว่า กล่าวคือ การประเมินผลการปฏิบัติงานจะอิงอยู่กับความรู้สึกนึกคิดของผู้ประเมิน ผนวกเข้าเป็นข้อสรุปในการตัดสินว่า ผลการปฏิบัติงานจะได้จากแรงานและแรงสมองของพนักงานนั้นอยู่ในระดับใด เช่น ดีมาก ดี มาตรฐาน หรือต่ำกว่ามาตรฐาน  อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าผลของการประเมินผลการปฏิบัติงานจะออกมาดีหรือไม่  หรือไม่ได้มาตรฐาน จะมีองค์ประกอบหลักๆ อยู่ 3 ส่วน ดังนี้
 
  1. แบบประเมินผลการปฏิบัติงาน (Appraisal Form)  นอกจากจะต้องสร้างแบบประเมินผลที่มีความน่าเชื่อถือแล้ว ยังประกอบด้วยข้อมูลที่จำเป็นดังต่อไปนี้
 
            1)     ข้อมูลพนักงานที่จำเป็นในการประเมินผลการปฏิบัติงาน เช่น ชื่อตำแหน่ง ระดับตำแหน่ง สถิติเวลาการทำงาน
                     เป็นต้น
 
            2)     ปัจจัยในการประเมินผลการปฏิบัติงานในกรณีที่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานที่เน้นพฤติกรรม (Behavior
                    Oriented) จะต้องประกอบด้วยปัจจัยอะไรบ้าง
 
            3)     เป้าหมายในการทำงานที่เน้นผลลัพธ์ หรือโครงการที่คาดว่าจะสำเร็จได้ ในกรณีที่เป็นการประเมินผลการปฏิบัติ
                    งานที่เน้นผลลัพธ์ (Results Oriented)
 
            4)     คำถามเกี่ยวกับการพัฒนาสายอาชีพและความพอใจในการทำงาน
 
            5)     ความเห็นของผู้ประเมินและผู้ถูกประเมิน
 
            6)     คำอธิบายความหมายวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงาน
 
            7)     ช่องสำหรับใส่คะแนน
  1. ผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานหรือผู้บังคับบัญชา
  2. ผู้ถูกประเมินผลการปฏิบัติงานหรือพนักงาน
 
หลายบริษัทได้จัดทำแบบประเมินผลการปฏิบัติงาน โดยมีรูปแบบเป็นรูปเล่มประมาณ 4- 8 หน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยที่ต้องการประเมินผล  และนิยมแยกสีเพื่อให้รู้ว่าเป็นการประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละระดับตำแหน่ง เช่น สำหรับผู้บริหารจะมีสีแตกต่างจากพนักงานปฏิบัติการ
 
ในแวดวงการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไม่ค่อยให้ความสำคัญกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการประเมินผลการปฏิบัติงาน และบริษัทที่พัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปก็ไม่ค่อยให้ความสำคัญเท่าใดนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะความถี่ในการใช้งาน เนื่องจากปีหนึ่งใช้เพียงครั้งหรือสองครั้งเท่านั้น  ซึ่งต่างกับโปรแกรมสำเร็จรูปสำหรับการจ่ายเงินเดือน ค่าจ้าง (Payroll System)  ที่ต้องใช้ทุกเดือนหรือทุก 15 วัน
 
เป็นการเข้าใจผิดที่ว่าโปรแกรมสำเร็จรูปการประเมินผลการปฏิบัติงานใช้งานไม่ค่อยบ่อยครั้ง ความจริงแล้วเป็นกาประเมินผลการปฏิบัติงานต้องใช้ทุกวันทุกเดือน  โดยเฉพาะในกรณีที่บริษัทต้องการใช้แบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่เน้นผลลัพธ์  ซึ่งผู้บังคับบัญชาต้องมีการประเมินผลการปฏิบัติงานติดตามความก้าวหน้าในขั้นตอนของกระบวนการของงานเช่นกัน (Process Appraise)  โดยเฉพาะการมอบหมายงานให้พนักงานใหม่ งานที่เป็นลักษณะโครงการหรืองานใหม่
 
เมื่อถึงจุดฤดูกาลประเมินผลการปฏิบัติงาน ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์และผู้บังคับบัญชาในฐานะผู้ประเมินก็จะทุมเทเวลาให้กับการประเมินผลการปฏิบัติงานเสียคราวหนึ่ง (ซึ่งเป็นอุปนิสัยไม่ค่อยจะถูกต้องนัก)  หรือถ้าไม่มีเวลาก็จะประเมินผลการปฏิบัติงานผู้ใต้บังคับบัญชาแบบขอไปที และชอบผลักภาระไปให้ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
 
ในเมื่อไม่มีแบบประเมินผลการปฏิบัติงานที่ถูกประมวลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ลักษณะจึงเป็นการจัดการด้วยมือ และใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูปเอ็กส์เซล (Microsoft Excel)  คำนวณ สรุป และการประมวลผลเพื่อจัดกลุ่มงาน ซึ่งจะมีการคำนวณค่าใช้จ่ายสำหรับการปรับเงินเดือนเมื่อได้คำนวณแล้ว จึงนำไปป้อนเข้าระบบการจ่ายเงินเดือนที่จัดการโดยโปรแกรมสำเร็จรูป (Payroll System) อีกทอดหนึ่ง
 
จึงมีคำถามตามมาว่า ทำไมไม่มีใครพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปการประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้เขียนใคร่เสนอความคิดเห็น และแนะนำบริษัทที่พัฒนาโปรแกรมงาการจ่ายเงินเดือนว่า น่าจะพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ โดยผนวกหรือแยกจัดการอิสระจากโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน เพื่อเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่าย ค่าจ้าง เงินเดือน ผลประโยชน์ที่ได้อาจทำให้โปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายเงินเดือนจำหน่ายได้ง่ายขึ้น
 
ลองนึกภาพเมื่อผู้ประเมินให้คะแนนผลการปฏิบัติงาน และอนุมัติส่งให้ฝ่ายบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ผ่านเครือข่ายภายในแบบออนไลน์ (Interactive Online)  ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์อยู่ที่หน้าจอคอมพิวเตอร์ สำหรับรวบรวม ประมวลผล และวิเคราะห์ผลการประเมินการปฏิบัติงานของทุกฝ่ายโดยทันทีแบบอัตโนมัติ ส่วนเอกสารประเมินผลการปฏิบัติงาน ผู้ประเมินสามารถพิมพ์จากคอมพิวเตอร์และลงลายมือชื่อ แล้วส่งให้ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงต่อไป
 
การจะประยุกต์ใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานนั้น จะเกิดประโยชน์เต็มที่เมื่อได้นำระบบอินทราเน็ต (Intranet)  มาใช้ในการบริหารงานในอย่างเต็มรูปแบบโดยต้องพิจารณาองค์ประกอบดังต่อไปนี้
 
1.  ประเภทของกาประเมินผลการปฏิบัติงานต้องมีความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายว่าได้ใช้การประเมินผลการปฏิบัติงานประเภทใด และได้ใช้จนกลายเป็นมาตรฐานของบริษัท
2.  พนักงานต้องมีจำนวนมากพอ
3.  วิธีการปรับเงินเดือน(Salary Increase) ใช้วิธีการใด เช่น เป็นวิธีการกำหนดโควต้า (Forced Ranking)  หรือวิธีกระจายอำนาจจากการบริหารให้แต่ละฝ่ายงานรับผิดชอบ ที่เรารู้จักกันดีว่า แบ่งเค็ก ให้แต่ละฝ่ายงานจัดการกันเอง ฯลฯ   แต่ละวิธีย่อมมีผลต่อการประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการประเมินผลการปฏิบัติงานเพื่อปรับเงินเดือนประจำปี  โดยทั่วไปมีขั้นตอนที่สำคัญดังต่อไปนี้
 
        -     ประมาณงานประมาณการปรับเงินเดือนประจำปี
        -     ขออนุมัติวงเงินงบประมาณปรับเงินเดือนประจำปี
        -     ผู้บังคับบัญชาประเมินผลการปฏิบัติงาน ขั้นตอนนี้ส่งแบบฟอร์ม (โดยมือหรือใช้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์)
        -     รวบรวม ประมวลผล วิเคราะห์ และสรุปผล
        -     ปรับเงินเดือนตามผลงานภายใต้งบประมาณที่ได้รับอนุมัติ
        -     ทำหนังสือแจ้งการปรับเงินเดือน
        -     ป้อนข้อมูลปรับเงินเดือน (เงินเดือนส่วนเพิ่ม) เข้าสู่โปรแกรมสำเร็จรูปในการจ่ายเงินค่าจ้าง เงินเดือน ในกรณีที่ไม่มี
              โปรแกรมสำเร็จรูปทางการประเมินผลการปฏิบัติงานเชื่อมต่อกับโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายค่าจ้างเงินเดือน จึงต้อง
              ทำการป้อนข้อมูลเงินเดือนที่เพิ่มเข้าสู่โปรแกรมสำเร็จรูป การจ่ายเงินเดือนอีกขั้นตอนหนึ่ง
        -     จ่ายเงินเดือนอัตราใหม่
 
ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังจัดการด้วยมือ (Management By Manual)  เสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะยังไม่มีการพัฒนาโปรแกรมสำเร็จรูปที่ระบบมีความสามารถเชื่อต่อระหว่างโปรแกรมสำเร็จรูปประเมินผลการปฏิบัติงานกับโปรแกรมสำเร็จรูปการจ่ายค่าจ้าง เงินเดือน ใช้กันอย่างจริงจังและแพร่หลาย
 
 
ที่มา : การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศ
โดย :  ประเวศน์  มหารัตน์กุล
 
 
  เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง :-
 
  เนื้อหาที่คุณอาจกำลังค้นหา :-
บทความที่น่าสนใจ
เกมส์ออนไลน์มาใหม่
เล่นเกมส์อีกมากมายคลิก
สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
340 ลาดพร้าว 112 วังทองหลาง กรุงเทพฯ 10310
โทร 0-2514-0593 แฟ็กซ์ 0-2538-4215 Email : Webmaster@muslimthaipost.com